Arts in Southeast Asia

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ศิลปกรรมยอดนิยม

Most Popular

ศิลปกรรมล่าสุด

Latest

698

หอคอยมัสยิดกำปงกลิง

อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย

มาเลเซีย

สมัย/รูปแบบศิลปะ
อาณานิคมดัตช์
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 22-23
ประเภทงานศิลปะ
สถาปัตยกรรม
เจดีย์ประธาน
เชียงราย
สถาปัตยกรรมเจดีย์ประธาน

เจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ทรงปราสาท ฐานล่างเป็นฐานเขียง 1 ฐานในผังสี่เหลี่ยมต่อด้วยฐานบัวคว่ำอีก 1 ฐานรองรับด้วยลูกแก้วอกไก่ขนาดใหญ่ 1 ลูกรองรับฐานบัวคว่ำบัวหงายคาดลูกแก้วอกไก่ในผังยกเก็จ ถัดขึ้นไปเป็นเรือนธาตุบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย เรือนธาตุในผังสี่เหลี่ยมมีการยกเก็จเพื่อออกซุ้มจระนำ เรือนธาตุประดับด้วยบัวเชิง ลูกแก้วอกไก่มีการตวัดปลายเล็กน้อย และบัวรัดเกล้า ยังมีร่องรอยของการประดับด้วยลายกาบบนและกาบล่าง ส่วนยอดมีหลังคาเอนลาด ต่อด้วยฐานบัวคว่ำบัวหงายคาดลูกแก้วอกไก่ในผัง 12 เหลี่ยม 3 ฐาน โดยประดับลูกแก้วอกไก่เฉพาะฐานล่างเท่านั้น ส่วนรองรับองค์ระฆังอยู่ในผังกลม องค์ระฆังในผังกลม บัวแวงหรือปัทมบาท ปล้องไฉนและปลียอด ส่วนยอดมีฉัตร

พระบรมธาตุดอนเต้า
ลำปาง
สถาปัตยกรรมพระบรมธาตุดอนเต้า

เจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ฐานล่างสุดเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายในผังสี่เหลี่ยมยืดท้องไม้สูงประดับลูกแก้ว 2 เส้น ถัดขึ้นมาเป็นชุดฐานเขียง 3 ฐานต่อด้วยฐานบัวคว่ำบัวหงายยืดท้องไม้สูงประดับลูกแก้ว 2 เส้นในผังยกเก็จ ต่อด้วยชั้นเขียงในผังกลม 3 ฐาน ชุดฐานรองรับองค์ระฆังเป็นชุดบัวถลา บัวปากระฆังประดับลายกลีบบัว องค์ระฆังและบัลลังก์อยู่ในผังกลมต่อด้วยก้านฉัตร บัวฝาละมี ปล้องไฉน ปลีขนาดใหญ่ ฐานของปลีมีแถวกลีบบัว เหนือปลีเป็นปัทมบาท ปล้อมไฉน 3 ชั้นและปลียอด ชั้นบนสุดเป็นฉัตร 7 ชั้น มีแนวกำแพงที่มีพนักระเบียงรูปคล้ายใบเสมา มีซุ้มประตูที่ทิศตะวันออก ตะวันตกและเหนือ ที่มุมมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป

เจดีย์ประธาน
เชียงราย
สถาปัตยกรรมเจดีย์ประธาน

เจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดเดียว ฐานเขียงด้านล่างอยู่ในผังสี่เหลี่ยม 1 ฐานรองรับฐานเขียงในผังยกเก็จ 28 จำนวน 4 ฐาน ต่อด้วยฐานบัวคว่ำบัวหงาย 2 ฐานต่อกันยืดท้องไม้สูงในผังยกเก็จ 28 ปลายเส้นลวดสะบัดขึ้นเล็กน้อย เรือนธาตุยกเก็จ 28 มีซุ้มจระนำทั้ง 4 ด้านประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน เหนือเรือนธาตุมีหลังคาลาด ต่อด้วยฐานบัวคว่ำ ชุดฐานบัวคว่ำบัวหงาย 3 ฐานในผัง 12 เหลี่ยม รองรับองค์ระฆังที่มีบัวปากระฆัง องค์ระฆังและบัลลังก์อยู่ในผังกลม ต่อด้วยบัวแวงหรือปัทมบาทรองรับปล้องไฉนและปลี

เจดีย์ประธาน
เชียงใหม่
สถาปัตยกรรมเจดีย์ประธาน

เจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ช้างล้อม ฐานเขียงด้านล่างรองรับฐานเขียงสี่เหลี่ยมยกสูงมีร่องรอยการประดับรูปช้างล้อมรอบแบบช้างครึ่งตัวทั้ง 4 ด้าน เหนือขึ้นไปเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายยืดท้องไม้สูงประดับซุ้มหน้านางด้านละ 5 ซุ้ม รวม 20 ซุ้มต่อด้วยชุดบัวถลา 3 ฐานต่อด้วยบัวปากระฆัง องค์ระฆังในผังกลม บัลลังก์สี่เหลี่ยม ก้านฉัตรและปล้องไฉนที่ส่วนบนหักหายไป

เจดีย์ทรงปราสาท
เชียงใหม่
สถาปัตยกรรมเจดีย์ทรงปราสาท

เจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ทรงปราสาท มีฐานเขียงรอบรับฐานบัวคว่ำบัวหงายคาดลูกแก้ว 1 เส้น 2 ฐานยืดท้องไม้สูงในผังยกเก็จ ต่อด้วยฐานหน้ากระดานยกเก็จรองรับเรือนธาตุยกเก็จมีซุ้มจระนำทั้ง 4 ด้านประดิษฐานพระพุทธรูป ประดับลายกาบบน กาบล่าง ประจำยามอกที่บริเวณเสา เหนือขึ้นไปเป็นส่วนเรือนยอดที่ทำเป็นเรือนชั้นซ้อนคือมีผนัง ช่องวิมาน มีปราสาทจำลองที่ด้านและมุม มีบรรพแถลงสลับกับหลังคาลาด ส่วนยอดสุดหักหายไป

เจดีย์ประธาน
เชียงใหม่
สถาปัตยกรรมเจดีย์ประธาน

เจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ทรงระฆัง มีฐานในผังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมเล็กไม้ 36 ด้านล่างสุดติดกับพื้นปรากฏขอบด้านบนของพนักระเบียง ถัดขึ้นไปเป็นฐานหลักในผังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม 3 ชั้น ฐานบัวชั้น 2 และ 3 มีลูกแก้วคาดชิดด้านบนท้องไม้ ฐานบัวแรกทำให้ลาดเอียงเป็นพิเศษโดยการไม่ใส่บัวหงาย มีการประดับมุมด้วยสถูปิกะที่ชั้นแรกและชั้น 2 และประดับด้วยปูรณฆฏะที่ชั้น 3 ถัดขึ้นเป็นฐานปรับมุมในผังแปดเหลี่ยม ที่ใช้บัวคว่ำ 2 ฐานโดยตัดบัวหงายออก ต่อด้วยฐานเขียงกลม 3 ฐาน บัวปากระฆังทำเป็นทรงคล้ายบัวคลุ่ม องค์ระฆังประดับบัวคอเสื้อบริเวณไหล่องค์ระฆังแต่ไม่ประดับบนรัดอก ต่อด้วยปล้องไฉนทรงกรวยเตี้ยที่ประกอบด้วยบัวคว่าสลับกับลูกแก้วและปลียืดยาวมาก

พระธาตุเจดีย์องค์เล็ก
แม่ฮ่องสอน
สถาปัตยกรรมพระธาตุเจดีย์องค์เล็ก

ฐานล่างเป็นฐานเขียงในผังแปดเหลี่ยมต่อด้วยฐานบัวคว่ำบัวหงายคาดลูกแก้ว 2 เส้นในผังแปดเหลี่ยม มีซุ้มประดับที่ด้านทั้ง 4 เหนือขึ้นไปเป็นฐานบัวคว่ำสลับกับลูกแก้ว 2 เส้น 3 ฐาน ต่อด้วยฐานกลีบบัว 2 ฐานรองรับองค์ระฆังกลมมีการประดับรัดอกและบัวคอเสื้อต่อด้วยปล้องไฉน ปัทมบาทและปลียาว

พระพิมพ์ดินเผา
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระพิมพ์ดินเผา

พระพิมพ์ทรงคล้ายสามเหลี่ยม ตรงกลางเป็นพระพุทธรูปนาคปรก เบื้องขวาของพระองค์เป็นบุรุษเชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เบื้องขวาของพระองค์เป็นสตรีเชื่อว่าเป็นพระนางปรัชญาปารมิตา มีกรอบคดโค้งทำนองเรือนแก้วล้อมรอบประติมากรรมทั้งสาม เบื้องล่างรองรับด้วยเป็นฐานบัว