ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 8 จาก 114 รายการ, 15 หน้า
เจดีย์ปยามา
แปร
สถาปัตยกรรมเจดีย์ปยามา

เจดีย์ในศิลปะศรีเกษตร (ปยู) มักเป็นเจดีย์ที่มีอัณฑะขนาดใหญ่ อันเป็นพื้นฐานมาจากศิลปะอมราวดี อย่างไรก็ตาม อัณฑะในศิลปะปยูไม่ได้อยู่ในทรงโอคว่ำอีกต่อไป แต่กลับยืดสูง บางองค์มีอัณฑะยืดสูงคล้ายทรงลอมฟาง บางองค์ก็คือสูงคล้ายทรงกระบอก สำหรับเจดีย์องค์นี้มีอัณฑะยืดสูงคล้ายทรงลองฟาง

เจดีย์โบโบจี
แปร
สถาปัตยกรรมเจดีย์โบโบจี

เจดีย์ในศิลปะศรีเกษตร (ปยู) มักเป็นเจดีย์ที่มีอัณฑะขนาดใหญ่ อันเป็นพื้นฐานมาจากศิลปะอมราวดี อย่างไรก็ตาม อัณฑะในศิลปะปยูไม่ได้อยู่ในทรงโอคว่ำอีกต่อไป แต่กลับยืดสูง บางองค์มีอัณฑะยืดสูงคล้ายทรงลอมฟาง บางองค์ก็คือสูงคล้ายทรงกระบอก สำหรับเจดีย์องค์นี้มีอัณฑะยืดสูงคล้ายทรงลองฟาง

เจดีย์เลมเยทนา
แปร
สถาปัตยกรรมเจดีย์เลมเยทนา

เจดีย์เลมเยทนา ถือเป็นเจตียวิหารที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในศิลปะพม่า เจดีย์มีแกนกลางรับน้ำหนักยอดศิขระ (ซึ่งหักหายไปแล้ว) โดยรอบมีพระพุทธรูปสี่ทิศและทางประทักษิณภายใน ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นต้นเค้าให้กับแผนผังของเจดีย์ในศิลปะพุกามหลายองค์ เช่น อานันทเจดีย์ เป็นต้น แผนผังแกนกลางและพระพุทธรูปสี่ทิศที่ยังไม่ซับซ้อนเมื่อเทียบกันอานันทเจดีย์นั้น แสดงให้เห็นว่าเจดีย์องค์นี้อยู่ในสมัยศรีเกษตร

ภายในเจดีย์เลมเยทนา
แปร
สถาปัตยกรรมภายในเจดีย์เลมเยทนา

เจดีย์เลมเยทนา ถือเป็นเจตียวิหารที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในศิลปะพม่า เจดีย์มีแกนกลางรับน้ำหนักยอดศิขระ (ซึ่งหักหายไปแล้ว) โดยรอบมีพระพุทธรูปสี่ทิศและทางประทักษิณภายใน ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นต้นเค้าให้กับแผนผังของเจดีย์ในศิลปะพุกามหลายองค์ เช่น อานันทเจดีย์ เป็นต้น แผนผังแกนกลางและพระพุทธรูปสี่ทิศที่ยังไม่ซับซ้อนเมื่อเทียบกันอานันทเจดีย์นั้น แสดงให้เห็นว่าเจดีย์องค์นี้อยู่ในสมัยศรีเกษตร

เจดีย์ชินดัตมยินดัต
มอญ
สถาปัตยกรรมเจดีย์ชินดัตมยินดัต

ศิลปะมอญสะเทิม เจริญขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 12-16 ในแถบปากแม่น้ำอิระวดีและสาละวินทางตอนใต้ของประเทศพม่า เจดีย์องค์นี้ก็คงเป็นศาสนสถานแห่งหนึ่งภายใต้สกุลศิลปกรรมดังกล่าว ฐานเจดีย์สร้างด้วยศิลาแลง ซึ่งเป็นวัสดุที่ศิลปะมอญสะเทิมนิยม ฐานมีการแบ่งเป็นช่องๆ โดยแต่ละช่องบรรจุรูปสัตว์ เช่น ช้างหรือสิงห์เป็นต้น เค้าโครงของเจดีย์แบบนี้คล้ายคลึงกับศิลปะทวารวดีอย่างมาก จนอาจมีความสัมพันธ์ทางใดทางหนึ่ง

พระพรหมภายในเจดีย์นันปยะ
พุกาม
ประติมากรรมพระพรหมภายในเจดีย์นันปยะ

เจตียวิหารในระยะแรกสุดของศิลปะพุกาม ภายในอาคารปรากฏเสาสี่ต้นรองรับยอดศิขระ โดยรอบปรากฏภาพสลักพระพรหมซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่ปรากฏเฉพาะที่นี่เท่านั้น รูปแบบของพระพรหมและประติมานวิทยายังคล้ายคลึงกับพระพรหมในศิลปะปาละอยู่มาก จากกำหนดอายุโบราณสถานแห่งนี้อยู่ในสมัยพุกามตอนต้น

หน้าต่างของเจดีย์นันปยะ
พุกาม
ประติมากรรมหน้าต่างของเจดีย์นันปยะ

หน้าต่างของแจดีย์นันปยะถือเป็นหน้าต่างของเจตียวิหารในระยะแรกสุดของศิลปะพุกาม เป็นหนาต่างที่มีแผ่นหินมาปิดทำให้ภายในอาคารมืดทึบ ซึ่ถือเป็นสุนทรียภาพในสมัยพุกามตอนต้น ซุ้มเคล็กที่นี่เป็นเคล็กสั้นและเอียงเข้าหาจุดศูนย์กลางตามแบบพุกามตอนต้น ที่เสาติดผนังเองก็ปรากฏกาบบนแต่ไม่มีกาบล่างและประจำยามอก ซึ่งถือเป็นกาบในระยะแรกสุดของศิลปะพุกาม

พระพุทธรูปในมนูหะ
พุกาม
ประติมากรรมพระพุทธรูปในมนูหะ

แม้ว่าจะมีประวัติเก่าแก่ไปถึงรัชสมัยพราะเจ้าอโนรธา แต่พระพุทธรูปองค์นี้ก็”ด้รับการบูรณะอย่างต่อเนื่อง จนรูปแบบดั้งเดิมไม่หลงเหลืออยู่