ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 8 จาก 89 รายการ, 12 หน้า
ปราสาทสมโบร์ไพรกุก หมู่ใต้ หลังที่ 1
กัมปง ธม
สถาปัตยกรรมปราสาทสมโบร์ไพรกุก หมู่ใต้ หลังที่ 1

ปราสาทสมัยก่อนเมืองพระนคร มักสร้างด้วยอิฐและแตกต่างด้วยการสลักอิฐเสมอ โดยไม่มีการเพิ่มมุม แต่มักประดับด้วยเสาติดผนังที่มุมและที่ด้าน ปราสาทสมโบร์ไพรกุกหลังนี้ มีการตกแต่งด้านข้างด้วยเสาติดผนังจำนวน 6 ต้น แบ่งพื้นที่เรือนธาตุออกเป็น 5 เก็จ โดยเก็จประธานประดับซุ้มประตูทรงปราสาท ส่วนเก็จข้างประดับ “วิมานลอย” ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของสมัยก่อนเมืองพระนคร ยอด้ายบนมีลักษณะเป็นเรือนธาตุซ้อนชั้นตามอย่างวิมาน อินเดียใต้ โดยแต่ละชั้นมีการประดับปราสาทจำลองซึ่งมีบันไดเป็นระยะๆ ปราสาทจำลองเช่นนี้ถือเป็นลักษณะเฉพาะในสมัยก่อนเมืองพระนครเช่นกัน

ปราสาทแปดเหลี่ยม : ปราสาทสมโบร์ไพรกุก
กัมปง ธม
สถาปัตยกรรมปราสาทแปดเหลี่ยม : ปราสาทสมโบร์ไพรกุก

ปราสาทสมโบร์ไพรกุก มีปราสาทบางหลังที่มีแผนผังแปดเหลี่ยม ซึ่งถือเป็นลักษณะพิเศษที่ปรากฏเฉพาะสมัยก่อนเมืองพระนครเท่านั้น ปราสาทแปดเหลี่ยมเหล่านี้ ไม่มีการเพิ่มมุม แต่ใช้เสาติดผนังขนาบแต่ละมุม และกึ่งกลางปรากฏ “วิมานลอย” ซึ่งถือเป็นลักษณะสำคัญของศิลปะก่อนเมืองพระนคร ส่วนยอดของปราสาทแปดเหล่ยมเหล่านี้ มักประดับไปด้วยชุดหลังคาลาดที่ประดับไปด้วยกูฑุ อันเกี่ยวข้องกับศิลปะอินเดียเหนือ แตกต่างอย่างยิ่งไปจากยอดแบบวิมานปราสาทในผังสี่เหลี่ยมซึ่งได้รับความนิยมในระยะร่วมสมัย

ปราสาทสมโบร์ไพรกุก หมู่กลาง หลังที่ 1
กัมปง ธม
สถาปัตยกรรมปราสาทสมโบร์ไพรกุก หมู่กลาง หลังที่ 1

ปราสาทสมัยก่อนเมืองพระนคร มักสร้างด้วยอิฐและแตกต่างด้วยการสลักอิฐเสมอ โดยไม่มีการเพิ่มมุม แต่มักประดับด้วยเสาติดผนังที่มุมและที่ด้าน อนึ่ง ปราสาทหลังนี้มีลักษณะโดยรวมคล้ายคลึงกับปราสาทสมโบร์ไพรกุกหลังอื่นๆ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรูปแบบทั้งหลังได้เปลี่ยนไปกลายเป็นแบบไพรกเมงต่อกำพงพระแล้ว ด้วยเหตุนี้ปราสาทหลังนี้จึงควรมีอายุหลังกว่าปราสาทสมโบร์ไพรกุกในหมู่ใต้และหมู่เหนือ ด้านหน้าปราสาทมีการสลักบันไดขนาดใหญ่จากหินก้อนเดียว และมีการสลักรูปสิงห์ทวารบาล ซึ่งทำให้ปราสาทหลังนี้รู้จักกันในอีกรนามหนึ่งว่า “ปราสาทสิงห์”

พระอารามโรงเจิน
พนมกุเลน
สถาปัตยกรรมพระอารามโรงเจิน

ปราสาทพระอารามโรงเจิน เป็นปราสาทที่สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เพื่อประดิษฐานพระเทวราช และศิวลึงค์ประจำพระองค์ ปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่บนฐานเป็นชั้นที่สร้างขึ้นจากศิลาแลง ด้านบนปรากฏฐานศิวลึงค์อยู่ ซึ่งอาจเคยอยู่ในปราสาทที่หักพังไปหมดแล้ว ฐานเป็นชั้นนี้คงเป็นความพยายามในการจำลองเขาไกรลาส ที่ประทับของพระศิวะ และต่อมาจกลายเป็นประเพณีในสมัยเมืองพระนครที่ปราสาทที่ประดิษฐานพระเทวราชและศึวลึงค์ประจำพระองค์กษัตริย์ต้องเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นเสมอ

ปราสาทดำไรกราบ
พนมกุเลน
สถาปัตยกรรมปราสาทดำไรกราบ

ปราสาทจามสมัยหัวล่าย ประกอบด้วยเสาติดผนังจำนวน 4 ต้นเสมอ กึ่งกลางเสาประดับด้วย “แถบลาย” ขนาดใหญ่เช่นเดียวกับปราสาทหัวล่ายในเวียดนาม นอกจากนี้ที่บัวหัวเสายังปรากฏเค้าโครงของครุฑแบกซึ่งคล้ายคลึงกับส่วนเดียวกันของปราสาทหัวล่ายด้วย อย่างไรก็ตาม ปราสาทแห่งนี้กลับสลักไม่เสร็จ จึงยังไม่ปรากฏลวดลายใดๆบรรจุอยู่ในแถบลายกึ่งกลางเสา

พระหริหระ
ประติมากรรมพระหริหระ

เป็นประติมากรรมลอยตัว ปรากฏการทำชฎามงกุฎที่ด้านซีกขวา และกีรีฏมงกุฎที่ด้านซ้าย แสดงถึงความเป็นพระศิวะและพระวิษณุ ด้านบนขวามีชิ้นส่วนของตรีศูลซึ่งเป็นอาวุธของพระศิวะ ด้านบนซ้ายปรากฏพระกรถือจักรซึ่งเป็นอาวุธของพระวิษณุ ประติมากรรมทรงนุ่งผ้านุ่งแบบโทตียาว ตามอิทธิพลของศิลปะอินเดีย ด้านซ้ายของผ้าปรากฏหัวเสืออันเป็นผ้านุ่งของพระศิวะ

พระพุทธรูป
ประติมากรรมพระพุทธรูป

พระพุทธรูปประทับยืน ทำอภัยมุทรา อุษณีษะเป็นมวยผม ขมวดพระเกษาวนเป็นก้นหอยไม่มีอุณาโลม พระเนตรเหลือบต่ำ ครองจีวรห่มคลุม ผ้าบางแบบเปียกน้ำ แนบพระวรกาย ไม่มีริ้วจีวร ตามรูปแบบศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ สกุลช่างสารนาถ พระกรขวายกขึ้นทำวิตรรกะมุทรา กรซ้ายหักหายไป สันนิษฐานว่าจับชายจีวรลงตามแบบศิลปะคุปตะ ประทับยืนแบบสมภังค์(ยืนตรง)

ทับหลัง
ประติมากรรมทับหลัง

ทับหลัง เป็นชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรมที่พบในศิลปะเขมร โดยจะติดตั้งอยู่บนกรอบประตูทางเข้าเสมอ ทับหลังแบบศิลปะสมโบร์ไพรกุก จะมีปรากฏการทำมกรหันหน้าเข้าคายตัววยาล และคายวงโค้งสี่วงที่ปลายทับหลังทั้งสองข้าง ตัวมกรยืนอยู่บนแท่นและมีบุคคลขี่อยู่ ตรงกลางทับหลังปรากฏการทำเหรียญสามวงคั่นระหว่างวงโค้ง ภายในเหรียญปรากฏการทำประติมากรรมบุคคลกลางเหรียญ ด้านบนวงโค้งปรากฏลายใบไม้ตั้งขึ้น ด้านล่างวงโค้งทำลายพวงมาลัย พวงอุบะ