ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เจดีย์ประธาน
คำสำคัญ : เจดีย์ทรงระฆัง, ศิลปะพม่า, วัดบุพพาราม
ชื่อหลัก | วัดบุพพาราม |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | ช้างคลาน |
อำเภอ | เมือง |
จังหวัด | เชียงใหม่ |
ภาค | ภาคเหนือ |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 18.787957 Long : 98.998197 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 Q Hemisphere : N E : 499810.02 N : 2077365.65 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | เจดีย์ประธานทางทิศใต้ของวิหารหลวง |
ประวัติการสร้าง | วัดแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2039 ชาวบ้านเรียกว่า วัดอุปา พระเจ้าติโลกราชเป็นผู้สร้างขึ้น แต่จากรูปแบบเจดีย์น่าจะได้รับการบูรณะโดยช่างชาวพม่าในพุทธศตวรรษที่ 25 |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ก่ออิญถือปูน |
ประวัติการอนุรักษ์ | ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 96 ตอนที่ 145 วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2522 |
ลักษณะทางศิลปกรรม | เจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ทรงระฆัง มีฐานในผังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมเล็กไม้ 36 ด้านล่างสุดติดกับพื้นปรากฏขอบด้านบนของพนักระเบียง ถัดขึ้นไปเป็นฐานหลักในผังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม 3 ชั้น ฐานบัวชั้น 2 และ 3 มีลูกแก้วคาดชิดด้านบนท้องไม้ ฐานบัวแรกทำให้ลาดเอียงเป็นพิเศษโดยการไม่ใส่บัวหงาย มีการประดับมุมด้วยสถูปิกะที่ชั้นแรกและชั้น 2 และประดับด้วยปูรณฆฏะที่ชั้น 3 ถัดขึ้นเป็นฐานปรับมุมในผังแปดเหลี่ยม ที่ใช้บัวคว่ำ 2 ฐานโดยตัดบัวหงายออก ต่อด้วยฐานเขียงกลม 3 ฐาน บัวปากระฆังทำเป็นทรงคล้ายบัวคลุ่ม องค์ระฆังประดับบัวคอเสื้อบริเวณไหล่องค์ระฆังแต่ไม่ประดับบนรัดอก ต่อด้วยปล้องไฉนทรงกรวยเตี้ยที่ประกอบด้วยบัวคว่าสลับกับลูกแก้วและปลียืดยาวมาก |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | 1. ตัวอย่างเจดีย์ศิลปะพม่าในจังหวัดเชียงใหม่ 2. ตัวอย่างเจดีย์ศิลปะพม่าที่ผสมผสานกับเจดีย์ในศิลปะมอญ |
ข้อสังเกตอื่นๆ | 1. จากลักษณะเจดีย์วัดบุพพารามแม้จะเป็นเจดีย์ในศิลปะม่าแต่ก็มีลักษณะหลายประการที่คล้ายกับเจดีย์ในศิลปะมอญ เช่น การมีฐานเขียงในผังกลม การไม่นิยมใช้บัวหงายที่ฐานบัว การประดับเฉพาะบัวคอเสื้อ ปล้องไฉนที่ใช้บัวคว่ำสลับกับลูกแก้ว อาจรวมถึงการเน้นย้ำสถูปิกะที่มุมฐานด้วยก็ได้ การปรากฏอิทธิพลมอญนั้นอาจเนื่องมาจากว่าวัดนี้เป็นวัดในนิกายมอญก็เป็นได้ 2. นอกจากรูปแบบจะผสมผสานระหว่างเจดีย์ศิลปะพม่าและศิลปะมอญแล้ว เจดีย์องค์นี้ยังแสดงลักษณะของสกุลช่างเชียงใหม่ด้วย คือ การที่ปล้องไฉนทรงกรวยเตี้ยขัดแข้งกับปลียืดสูง 3. การที่ปรากฏด้านบนของพนักระเบียงขึ้นจากพื้นดินอาจเป็นไปได้ว่าจะเคยมีลานประทักษิณอยู่โดยรอบเจดีย์ แต่โดนถมไปในสมัยปัจจุบัน |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | พม่า |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 25 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | 1. เจดีย์วัดแสนฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ตัวอย่างเจดีย์ศิลปะพม่าสกุลช่างเชียงใหม่ที่มีรูปแบบคล้ายกับเจดีย์วัดบุพพารามแต่ไม่ปรากฏอิทธิพลเจดีย์มอญ 2. เจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ เจดีย์สำคัญของชาวมอญและมีรูปแบบที่ให้แรงบันดาลใจบางประการกับเจดีย์วัดบุพพาราม |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-05-19 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | ศิลปากร, กรม. การขึ้นทะเบียนโบราณสถานภาคเหนือในเขตรับผิดชอบของหน่วยศิลปากรที่ 4 ตามโครงการสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถานของกองโบราณคดี. กรุงเทพฯ: กรม, 2525. เชษฐ์ ติงสัญชลี. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ประเด็นใหม่เกี่ยวกับเจดีย์แบบมอญและพม่าในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554. สมหมาย เปรมจิตต์ และ อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. รายชื่อวัดและนิกายสงฆ์โบราณในเชียงใหม่. เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2518. กองพุทธสถาน. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 9 กรุงเทพฯ: กอง, 2533. |