ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพิมพ์ดินเผา

คำสำคัญ : พระพิมพ์, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, อวโลกิเตศวร, พระพุทธรูปนาคปรก, ศิลปะเขมรในประเทศไทย, พระรัตนตรัยมหายาน

ชื่อเรียกอื่นพระรัตนตรัยมหายาน
ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลพระบรมมหาราชวัง
อำเภอเขตพระนคร
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.7576
Long : 100.492222
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 661329.97
N : 1521418.09
ตำแหน่งงานศิลปะจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ประวัติการสร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐานลายลักษณ์อักษรที่เกี่ยวข้องกับประวัติการสร้าง แต่จากความแพร่หลายของพุทธศาสนาหมายานสายวัฒนธรรมเขมรที่มีมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 ผนวกกับพระพิมพ์อื่นๆ ที่สร้างขึ้นภายใต้คติความเชื่อเดียวกันนี้ล้วนอยู่ในระยะเวลานี้ทั้งสิ้น จึงสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18

กระบวนการสร้าง/ผลิต

ดินเผา

ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพิมพ์ทรงคล้ายสามเหลี่ยม ตรงกลางเป็นพระพุทธรูปนาคปรก เบื้องขวาของพระองค์เป็นบุรุษเชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เบื้องขวาของพระองค์เป็นสตรีเชื่อว่าเป็นพระนางปรัชญาปารมิตา มีกรอบคดโค้งทำนองเรือนแก้วล้อมรอบประติมากรรมทั้งสาม เบื้องล่างรองรับด้วยเป็นฐานบัว

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระพิมพ์นี้เรียกกันว่า พระรัตนตรัยมหายาน เป็นคติความเชื่อในพุทธศาสนามหายานที่สำคัญ ตรงกลางเป็นพระพุทธรูปนาคปรกสัญลักษณ์แทนพระนิพพาน เบื้องขวาของพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสัญลักษณ์แทนความกรุณา เบื้องซ้ายของพระองค์เป็นพระนางปรัชญาปารมิตาสัญลักษณ์แทนปัญญา ตวามความเชื่อว่าเมื่อปัญญารวมกับกรุณาจะทำให้เข้าสู่พระนิพพาน

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะลพบุรี, เขมรในประเทศไทย
อายุพุทธศตวรรษที่ 17-18
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายมหายาน

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-09-30
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. ประติมากรรมขอม. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์, 2515.

สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. ศิลปะสมัยลพบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทาลัยศิลปากร, 2547.