Arts in Southeast Asia

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ศิลปกรรมยอดนิยม

Most Popular

ศิลปกรรมล่าสุด

Latest

674

หอคอยมัสยิดกำปงกลิง

อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย

มาเลเซีย

สมัย/รูปแบบศิลปะ
อาณานิคมดัตช์
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 22-23
ประเภทงานศิลปะ
สถาปัตยกรรม
เศียรพระโพธิสัตว์เมตไตรยะ
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมเศียรพระโพธิสัตว์เมตไตรยะ

เศียรพระโพธิสัตว์เมตรไตรยะองค์นี้เป็นประติมากรรมนูนสูงบนผนังถ้ำ แต่ถูกคนร้ายลักลอบกะเทาะออกมา พระพักตร์ยาว พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบ พระนาสิกและพระโอษฐ์สมส่วน พระเกศายาวหวีเสยเกล้าเป็นมวยอยู่เหนือพระเศียร มวยพระเกศาเป็นทรงกระบอกขนาดใหญ่ พระเกศารูปวงโค้งซ้อนลงมาเป็นชั้นๆ ปรากฏสัญลักษณ์รูปสถูปประดับอยู่กลางมวยพระเกศา

เศียรพระโพธิสัตว์
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมเศียรพระโพธิสัตว์

เศียรพระโพธิสัตว์องค์นี้อยู่ในสภาพชำรุดแต่ได้รับการอนุรักษ์จนอยู่ในสภาพสมบูรณ์ พระพักตร์ยาว พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ เดิมทีพระเนตรคงเคยฝังอัญมณีหรือของมีค่าแต่ได้สูญหายไปแล้ว พระนาสิกและพระโอษฐ์สมส่วน มีพระมัสสุ พระเกศายาวหวีเสยเกล้าเป็นมวยอยู่เหนือพระเศียร มวยพระเกศาเป็นทรงกระบอกขนาดใหญ่ พระเกศารูปวงโค้งประดับด้วยเม็ดไข่ปลาตกซ้อนลงมาเป็นชั้นๆ สัญลักษณ์ที่เคยประดับอยู่กลางมวยผมสูญหายไปแล้ว จึงไม่อาจทราบได้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์พระองค์ใด

พระโพธิสัตว์ไมเตรยะ
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์ไมเตรยะ

พระโพธิสัตว์เมตไตรยะอยู่ในอิริยาบถยืนตรง พระเนตรเบิกโพรง พระเกศายาวเกล้าเป็นมวยทรงกระบอกขึ้นไปกลางพระเศียร มีรูปสถูปประดับมวยพระเกศาเป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้ทราบว่าประติมากรรมนี้เป็นรูปพระโพธิสัตว์ไมเตรยะ พระกรทั้งสองข้างหักหายไปแล้ว ส่วนบนของพระวรกายเปล่าเปลือย ส่วนล่างสวมสมพตสั้น บางแนบเนื้อและไม่เห็นริ้ว

พระโพธิสัตว์
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์

พระโพธิสัตว์อยู่ในอิริยาบถยืนตรง พระเนตรปิดสื่อถึงความสงบ พระเกศายาวเกล้าเป็นมวยทรงกระบอกขึ้นไปกลางพระเศียร มีสี่กรโดยกรขวาหลังหักหายไปแล้ว กรที่เหลืออีก 3 กรแสดงกฏกมุทราหรืองอนิ้วพระหัตถ์ประหนึ่งถือสิ่งของไว้ ส่วนบนของพระวรกายเปล่าเปลือย ส่วนล่างสวมสมพตสั้น บางแนบเนื้อและไม่เห็นริ้ว

พระพุทธรูปนาคปรก
นครราชสีมา
ประติมากรรมพระพุทธรูปนาคปรก

พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถนั่งทำปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ พระชงฆ์คมเป็นสันดังมนุษย์จริง ครองจีวรห่มเฉียง บางแนบพระวรกาย ไม่มีริ้ว พระพักตร์สงบ พระเนตรปิด แย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย ขมวดพระเกศาเวียนเป็นวงก้นหอย พระอุษณีษะนูนเพียงเล็กน้อย ขนดนาคที่รองรับพระพุทธเจ้ามี 3 ขนด มีพังพานนาคหลายเศียรปกอยู่ทางด้านหลัง

ทับหลังจากปราสาทเขาน้อยหลังเหนือ
ปราจีนบุรี
ประติมากรรมทับหลังจากปราสาทเขาน้อยหลังเหนือ

ทับหลังทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางสลักลายเส้นตรงที่มีส่วนปลายเป็นวงโค้งพาดผ่านกลางทับหลัง ลานเส้นตรงที่มีปลายเป็นวงโค้งนี้ตกแต่งด้วยลายวงรูปไข่ที่มีลวดลายตกแต่งอยู่ภายในและภายนอกจำนวน 5 วงเป็นองค์ประกอบหลัก ใต้ลายเส้นตรงสลักลายพวงมาลัยและอุบะ ถัดจากปลายวงโค้งทั้งสองข้างเป็นรูปสิงห์ในท่ายืน ปลายวงโค้งและสิงห์รองรับด้วยแท่นฐานสี่เหลี่ยม ตรงกลางระหว่างแท่นสี่เหลี่ยมในตำแหน่งขอบล่างของทับหลังสลักตกแต่งด้วยลายกนก

ทับหลังจากปราสาทเขาน้อยหลังเหนือ
ปราจีนบุรี
ประติมากรรมทับหลังจากปราสาทเขาน้อยหลังเหนือ

ทับหลังทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางสลักลายวงโค้ง 4 วงต่อเนื่องกัน จุดบรรจบของแต่ละวงโค้งตกแต่งด้วยลายวงรูปไข่ที่ประดับภายในด้วยภาพเทพเจ้าทรงพาหนะ ใต้วงโค้งสลักลายพวงมาลัยและอุบะ ถัดจากปลายวงโค้งทั้งสองข้างเป็นรูปมกรหันหน้าเข้าสู่ด้านใน อ้าปากราวกับว่ากำลังคายท่อนวงโค้ง มีรูปบุคคลนั่งเหนือมกร และมีแท่นฐานสี่เหลี่ยมรองรับมกร

เจดีย์เชียงยัน
ลำพูน
สถาปัตยกรรมเจดีย์เชียงยัน

เจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอด ฐานล่างสุดเป็นฐานเขียง 3 ฐานรองรับฐานบัวคว่ำบัวหงายยืดท้องไม้สูงคาดลูกแก้วอกไก่ 3 เส้น รองรับด้วยเรือนธาตุที่มีซุ้มจระนำทั้ง 4 ด้านมีการประดับลายปูนปั้นที่ซุ้ม เหนือขึ้นไปเป็นเจดีย์จำลองหรือ สถูปิกะที่มุมทั้ง 4 ที่กึ่งกลางเป็นเจดีย์ทรงระฆังในผังกลมมีการประดับรัดอกต่อด้วยบัวคลุ่มสลับกับลูกแก้ว ยอดสุดหักหายไป