ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระโพธิสัตว์
คำสำคัญ : พระพุทธรูป, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, พระโพธิสัตว์, ลพบุรี, ศิลปะเขมรในประเทศไทย
ชื่อหลัก | พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | พระบรมมหาราชวัง |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.7576 Long : 100.492222 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 661329.97 N : 1521418.09 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | จัดแสดงภายในห้องเทวรูปรุ่นเก่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร |
ประวัติการสร้าง | ไม่ปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับประวัติการสร้าง แต่จากรูปแบบที่สัมพันธ์กับศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนครแบบไพรกเมงและกำพงพระ จึงเชื่อว่าหล่อขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 13 |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | หล่อสำริด |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระโพธิสัตว์อยู่ในอิริยาบถยืนตรง พระเนตรปิดสื่อถึงความสงบ พระเกศายาวเกล้าเป็นมวยทรงกระบอกขึ้นไปกลางพระเศียร มีสี่กรโดยกรขวาหลังหักหายไปแล้ว กรที่เหลืออีก 3 กรแสดงกฏกมุทราหรืองอนิ้วพระหัตถ์ประหนึ่งถือสิ่งของไว้ ส่วนบนของพระวรกายเปล่าเปลือย ส่วนล่างสวมสมพตสั้น บางแนบเนื้อและไม่เห็นริ้ว |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | พระโพธิสัตว์สำริดองค์นี้เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการเจริญขึ้นของพุทธศาสนามหายานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 13 เป็นอย่างน้อย ทั้งนี้รูปแบบเป็นไปตามแบบแผนของศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร ย่อมสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างดินแดนไทยกับกัมพูชาได้เป็นอย่างดี อาจตั้งคำถามได้ว่าพุทธศาสนามหายานที่เข้ามานี้คงรับผ่านมาจากกัมพูชา นอกจากนี้ขนาดที่ใหญ่โตสะท้อนให้เห็นว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีกลุ่มคนที่มีความก้าวหน้าหรือเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีหล่อสำริดขนาดใหญ่ ไม่แพ้กลุ่มวัฒนธรรมอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
ข้อสังเกตอื่นๆ | ค้นพบจากเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับพระโพธิสัตว์เมตไตรยะสำริดและพระพุทธรูปสำริด |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ลพบุรี, เขมรในประเทศไทย |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 13 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | มหายาน |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนามหายาน |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | 1. พระโพธิสัตว์เมตไตยระจากเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ 2. พระโพธิสัตว์จากบ้านโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา 3. ประติมากรรมสำริดจากเขาปลายบัด อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-09-30 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. ประติมากรรมขอม. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์, 2515. สุภัทรดิศ ดิศกุล. ศิลปะขอม. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2533. อุไรศรี วรศะริน และคณะ. ประติมากรรมสำริดชิ้นเอก พบใหม่จากบุรีรัมย์. พระนคร : กรมศิลปากร, 2516. |