Arts in Southeast Asia

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ศิลปกรรมยอดนิยม

Most Popular

ศิลปกรรมล่าสุด

Latest

674

หอคอยมัสยิดกำปงกลิง

อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย

มาเลเซีย

สมัย/รูปแบบศิลปะ
อาณานิคมดัตช์
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 22-23
ประเภทงานศิลปะ
สถาปัตยกรรม
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
นครราชสีมา
ประติมากรรมพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ประติมากรรมฉลองพระองค์พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีสภาพชำรุดบางส่วน พระกรทั้งสองข้างและพระชานุซ้ายหักหายไป พระพักตร์เหลี่ยม พระเนตรปิด แย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย พระเกศายาวเกล้าเป็นมวย พระวรกายท้วม ช่วงบนไม่ทรงอาภรณ์ใดๆ ช่วงล่างทรงสมพตสั้น นั่งอยู่ในอิริยาบถขัดสมาธิ พระหัตถ์ที่หักหายไม่ทราบว่าทำท่าทางใด แต่บางท่านสันนิษฐานว่าประนมกรไว้ เพราะหากทำท่าสมาธิหรือวางบนพระเพลาจำต้องเห็นร่องรอยของฝ่าพระหัตถ์ที่ติดอยู่กับพระเพลา

พระอรรธนารีศวร
อุบลราชธานี
ประติมากรรมพระอรรธนารีศวร

พระอรรถนารีศวรอยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิแบบไขว้พระชงฆ์ หรือแบบโยคาสนะ มีแท่นฐานสี่เหลี่ยมที่ตกแต่งด้วยกลีบบัวรองรับ พระกรทั้งสองข้างหักหายจึงไม่ทราบว่าทำท่าทางใด ด้านขวาของประติมากรรมเป็นพระศิวะสังเกตได้จากพระอุระที่เรียบ ด้านซ้ายของประติมากรรมเป็นพระอุมาโดยสังเกตได้จากพระถันที่นูนเด่นชัด นอกจากนี้ความแตกต่างระหว่างด้านทั้งสองยังเห็นได้จากผ้านุ่ง โดยด้านของพระศิวะเป็นผ้านุ่งสั้นระดับพระชานุ ในขณะที่ผ้านุ่งของพระอุมายาวถึงกึ่งกลางพระชงฆ์

กู่พระเจ้าติโลกราช
เชียงใหม่
สถาปัตยกรรมกู่พระเจ้าติโลกราช

เจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดเดียว ฐานเขียงด้านล่าง 2 ฐานรองรับฐานบัวคว่ำบัวหงายคาดลูกแก้วอกไก่ 1 เส้น ต่อด้วยเรือนธาตุที่มีจระนำซุ้มทั้ง 4 ด้าน เสามีการประดับลายกาบบน กาบล่าง ถัดขึ้นเป็นหลังคาลาด 1 ชัด ต่อด้วยฐานเขียง ชุดฐานบัวคว่ำบัวหงายคาดลูกแก้วอกไก่ 1 เส้น 3 ฐานในผังกลมรองรับองค์ระฆัวกลม บัลลังก์ ก้อนฉัตร ปล้องไฉนและปลียอด

จิตรกรรมฝาผนังในวิหารลายคำ
เชียงใหม่
จิตรกรรมจิตรกรรมฝาผนังในวิหารลายคำ

จิตรกรรมฝาผนังที่วิหารลายคำมีหลายส่วน บริเวณผนังห้องท้ายวิหารเขียนภาพพระอดีตพุทธเจ้าเรียงแถว ผนังด้านทิศเหนือเขียนเรื่องสุวรรณหงส์ ผนังด้านทิศใต้เขียนเรื่องสังข์ทอง เหนือเรื่องสุวรรณหงส์และสังข์ทองเขียนภาพเทพชุมนุม โดยลักษณะภาพที่ปรากฏมีลักษณะเป็นแบบ 3 มิติและมึความสมจริงยิ่งขึ้นซึ่งเป็นอิทธิพลจากศิลปะรัตนโกสินทร์ที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกและมีอิทธิพลจากศิลปะพม่า เช่นลักษณะสถาปัตยกรรมทรงปยาทาดหรือเครื่องทรงกษัตริย์ต่างๆและมีการเขียนภาพกากที่บอกเล่าวิถีชีวิตของชาวบ้านในปริมาณที่มากกว่าจิตรกรรมฝาผนังในภาคกลาง

พระหริภุญชัยโพธิสัตว์
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระหริภุญชัยโพธิสัตว์

พระพุทธรูปองค์นี้แสดงปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานหน้าบัวคว่ำบัวหงายในผังแปดเหลี่ยมที่มีกลีบบัวขนาดใหญ่ พระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก สวมเทริดขนนกที่มี 5 ตาบเรียงด้านหน้าทั้งหมด ลวดลายภายในตาบเป็นลายดอกโบตั๋นแบบล้านนา มีผ้ากรรเจียกรูปพัดและกุณฑลที่พระกรรณ ปรากฏแถวเม็ดพระศก 1 แถวใต้กระบังหน้าของเทริดชนนก พระเนตรเหลือบต่ำ พระโอษฐ์แย้ม พระหนุเป็นปม พระรัศมีเป็นเปลวสูง พระวรกายผอมบางสมส่วน จีวรสวมทับสร้อยพระศอ สวมพาหุรัด ทองพระกร พระธำมรงค์ ชายสังฆาฏิแผ่นใหญ่ยาวถึงพระนาภีปลายแตกเป็นเขี้ยวตะขาบ ชายผ้าด้านหน้าแตกเป็น 2 ชาย

เศียรพระแสนแซว่
เชียงใหม่
ประติมากรรมเศียรพระแสนแซว่

เศียรพระแสนแซว่มีลักษณะคล้ายหน้ากาก พระพักตร์กลม พระขนงโก่ง พระเนตรเรียวเหลือบลงต่ำ พระโอษฐ์แย้มเล็กน้อย พระหนุเป็นปม ขมวดพระเกศาใหญ่

พระพุทธรูปปางมารวิชัย
เชียงใหม่
ประติมากรรมพระพุทธรูปปางมารวิชัย

พระพุทธรูปองค์นี้แสดงปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานหน้าบัวคว่ำบัวหงายในผังแปดเหลี่มที่มีการเจาะช่องกระจก ส่วนฐานที่ขารองรับ 3 ขา พระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระเนตรหรี่เหลือบต่ำ พระโอษฐ์แย้ม พระหนุเป็นปม พระรัศมีเป็นเปลวสูง พระวรกายผอมบางสมส่วน ชายสังฆาฏิแผ่นใหญ่ยาวถึงพระนาภีปลายแตกเป็นเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ยาวเท่ากัน

พระศากยสิงห์
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระศากยสิงห์

พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร แสดงปางมารวิชัย พระพักตร์กลม ขมวดพระเกศาใหญ่ อุษณีษะทรงสูง ยอดอุษณีษะเป็นตุ่มกลมคล้ายดอกบัวตูม พระเนตรเปิดมองตรง พระโอษฐ์แย้ม พระหนุเป็นปม พระวรกายไม่อวบอ้วนมาก ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถันปลายแตกเป็นเขี้ยวตะขาบ ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงายในผังแปดเหลี่ยมซึ่งหล่อติดกับพระพุทธรูป