ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระศากยสิงห์
คำสำคัญ : วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม, พระพุทธรูป, ศิลปะล้านนา, พระศากยสิงห์, เชียงแสนหนึ่ง, พระพุทธรูปแบบสิงห์หนึ่ง, เชียงแสน
ชื่อเรียกอื่น | พระสักยสิงห์ |
---|---|
ชื่อหลัก | วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม |
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | สวนจิตรลดา |
อำเภอ | เขตดุสิต |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.766605 Long : 100.514241 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 663704.75 N : 1522429.1 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | พระพุทธรูปในระเบียงคด |
ประวัติการสร้าง | ไม่ปรากฏประวัติการสร้าง แต่ตามประวัติระบุว่าเดิมอยู่ที่เมืองเชียงแสน ก่อนจะอัญเชิญมายังวัดเบญจมบพิตรฯ |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | หล่อสำริด |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร แสดงปางมารวิชัย พระพักตร์กลม ขมวดพระเกศาใหญ่ อุษณีษะทรงสูง ยอดอุษณีษะเป็นตุ่มกลมคล้ายดอกบัวตูม พระเนตรเปิดมองตรง พระโอษฐ์แย้ม พระหนุเป็นปม พระวรกายไม่อวบอ้วนมาก ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถันปลายแตกเป็นเขี้ยวตะขาบ ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงายในผังแปดเหลี่ยมซึ่งหล่อติดกับพระพุทธรูป |
สกุลช่าง | เชียงแสน – เชียงราย |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ตัวอย่างพระพุทธรูปแบบสิงห์หนึ่ง ซึ่งอัญเชิญมาจากเมืองเชียงแสน ซึ่งมีรูปแบบศิลปะสามารถกำหนดอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 21 |
ข้อสังเกตอื่นๆ | จากหลักฐานจารึกที่ฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระเจ้าเม็งราย จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งมีรูปแบบเดียวกัน มีการระบุชื่อเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระพุทธสิหิงค์” ทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่า รูปแบบพระพุทธรูปแบบสิงห์หนึ่งในความเข้าใจของคนล้านนาน่าจะหมายถึงพระพุทธสิหิงค์ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ล้านนา |
อายุ | ต้น – กลางพุทธศตวรรษที่ 21 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | 1. พระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระเจ้าเม็งราย จังหวัดเชียงใหม่ ตัวอย่างสำคัญของพระพุทธรูปแบบสิงห์หนึ่งที่มีจารึกระบุชื่อ “พระพุทธสิหิงค์” ชื่อผู้สร้างและปีที่สร้างชัดเจน สามารใช้เป็นตัวอย่างในการกำหนดอายุพระพุทธรูปในยุคสมัยเดียวกันแต่ไม่มีจารึกได้ 2. พระพุทธรูป “พระมังรายเจ้า” วัดชัยพระเกียรติ จังหวัดเชียงใหม่ ตัวอย่างพระพุทธรูปแบบสิงห์หนึ่งในยุคหลังที่แม้จะยังสืบทอดงานจากยุคก่อนแต่ฝีมทอช่างกลับไม่งามเท่า |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-05-15 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556. มูลนิธิเบญจมบพิตร. พระพุทธรูปที่พระระเบียงพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเบญจมบพิตร, 2543. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. “พระพุทธสิหิงค์คือพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรในศิลปะล้านนา” ศิลปวัฒนธรรม, 26,2 (ธันวาคม 2547): 94 – 99. A.B. Griswold. Dated Buddha Images of Northern Siam. Artibus Asiae, Supplementum 16, Ascona Switzerland, 1957. |