ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จิตรกรรมฝาผนังในวิหารลายคำ
คำสำคัญ : วัดพระสิงห์, วิหารพระสิงห์, วิหารลายคำ, จิตรกรรมฝาผนัง
ชื่อหลัก | วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | จิตรกรรม |
ตำบล | พระสิงห์ |
อำเภอ | เมือง |
จังหวัด | เชียงใหม่ |
ภาค | ภาคเหนือ |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 18.788409 Long : 98.981208 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 Q Hemisphere : N E : 498019.61 N : 2077415.7 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ภายในวิหารลายคำ |
ประวัติการสร้าง | จิตรกรรมฝาผนังนี้น่าจะเขียนขึ้นในคราวเดียวกับที่มีการบูรณะวิหารลายคำในสมัยเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ในปี พ.ศ. 2406 โดยมีช่างวาดสำคัญ 2 คนคือ “เจ๊กเส็ง” เขียนเรื่องสังข์ทองและ “หนานโพธา” เขียนเรื่องสุวรรณหงส์ |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | สีฝุ่น |
ลักษณะทางศิลปกรรม | จิตรกรรมฝาผนังที่วิหารลายคำมีหลายส่วน บริเวณผนังห้องท้ายวิหารเขียนภาพพระอดีตพุทธเจ้าเรียงแถว ผนังด้านทิศเหนือเขียนเรื่องสุวรรณหงส์ ผนังด้านทิศใต้เขียนเรื่องสังข์ทอง เหนือเรื่องสุวรรณหงส์และสังข์ทองเขียนภาพเทพชุมนุม โดยลักษณะภาพที่ปรากฏมีลักษณะเป็นแบบ 3 มิติและมึความสมจริงยิ่งขึ้นซึ่งเป็นอิทธิพลจากศิลปะรัตนโกสินทร์ที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกและมีอิทธิพลจากศิลปะพม่า เช่นลักษณะสถาปัตยกรรมทรงปยาทาดหรือเครื่องทรงกษัตริย์ต่างๆและมีการเขียนภาพกากที่บอกเล่าวิถีชีวิตของชาวบ้านในปริมาณที่มากกว่าจิตรกรรมฝาผนังในภาคกลาง |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ตัวอย่างของจิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างเชียงใหม่เพียงแห่งเดียวในศิลปะล้านนา |
ข้อสังเกตอื่นๆ | 1. จิตรกรรมฝาผนังทั้ง 2 เรื่องมีลักษณะการเขียนที่แตกต่างกันอย่างมาก โดยจิตรกรรมฝาผนังเรื่องสังข์ทองถือเป็นตัวอย่างจิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างเชียงใหม่เพียงแห่งเดียวที่เหลืออยู่ ขณะที่จิตรกรรมฝาผนังเรื่องสุวรรณหงส์เป็นงานของช่างพื้นเมืองที่เขียนตามแบบศิลปะรัตนโกสินทร์ 2. ทั้งเรื่องสังข์ทองและสุวรรณหงส์ต่างก็ไม่ใช่วรรณกรรมในล้านนาแต่เป็นวรรณกรรมที่เป็นที่รู้จักในกรุงเทพมหานคร ซึ่งอาจเป็นแนวคิดที่รับไปจากกรุงเทพมหานคร เนื่องเจ้ากาวิรสสุริยวงศ์เคยเสด็จไปประทับในกรุงเทพมหานครมาก่อน |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ล้านนา |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 25 |
ศาสนา | พุทธ |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | 1. จิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ตัวอย่างจิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างไทใหญ่ที่มีอิทธิพลของศิลปะพม่าอย่างมาก ทำให้มีลักษณะของสถาปัตยกรรมและเครื่องทรงของบุคคลคล้ายคลึงกัน 2. จิตรกรรมฝาผนังวัดเสาหิน จังหวัดเชียงใหม่ ตัวอย่างจิตรกรรมฝาผนังที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะรัตนโกสินทร์ที่สมบูรณ์ที่สุดเพียงแห่งเดียวในจังหวัดเชียงใหม่ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-05-31 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | ภาณุพงษ์ เลาหสม. จิตรกรรมฝาผนังล้านนา. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2541. ศักดิ์สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ: มติชน, 2556. วิไลรัตน์ ยังรอต และ ธวัชชัย องค์วุฒิเวทย์, เรียบเรียง. จิตรกรรมเล่าเรื่องวรรณคดีอมตะ. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส, 2555. ชัยยศ อิษฏ์วรพันธ์ และ ภานุพงษ์ เลาหสม. วิหารลายคำวัดพระสิงห์ : สถาปัตยกรรมและจิตรกรรมฝาผนัง. เชียงใหม่: สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, 2543. |