ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระอรรธนารีศวร

คำสำคัญ :

ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลในเมือง
อำเภอเมือง
จังหวัดอุบลราชธานี
ภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 15.228302
Long : 104.857644
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 484722.4
N : 1683514.12
ตำแหน่งงานศิลปะจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี

ประวัติการสร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับประวัติการสร้าง แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมทำให้นักวิชาการบางท่านกำหนดอายุไว้ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13

กระบวนการสร้าง/ผลิต

หินทรายแกะสลัก

ลักษณะทางศิลปกรรม

พระอรรถนารีศวรอยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิแบบไขว้พระชงฆ์ หรือแบบโยคาสนะ มีแท่นฐานสี่เหลี่ยมที่ตกแต่งด้วยกลีบบัวรองรับ พระกรทั้งสองข้างหักหายจึงไม่ทราบว่าทำท่าทางใด

ด้านขวาของประติมากรรมเป็นพระศิวะสังเกตได้จากพระอุระที่เรียบ ด้านซ้ายของประติมากรรมเป็นพระอุมาโดยสังเกตได้จากพระถันที่นูนเด่นชัด นอกจากนี้ความแตกต่างระหว่างด้านทั้งสองยังเห็นได้จากผ้านุ่ง โดยด้านของพระศิวะเป็นผ้านุ่งสั้นระดับพระชานุ ในขณะที่ผ้านุ่งของพระอุมายาวถึงกึ่งกลางพระชงฆ์
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

เป็นประติมากรรมพระอรรถนารีศวรที่เก่าแก่ที่สุดในดินแดนไทย สะท้อนถึงคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ที่บูชาพระศิวะและพระแม่อุมาไปพร้อมกัน

อายุพุทธศตวรรษที่ 12-13
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพราหมณ์

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-09-30
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. (เรียบเรียง) ประติมากรรมขอม. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์, 2515.

สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. ศิลปะสมัยลพบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทาลัยศิลปากร, 2547.