ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระหริภุญชัยโพธิสัตว์

คำสำคัญ :

ชื่อหลักวัดเบญจมบพิตร
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลสวนจิตรลดา
อำเภอเขตดุสิต
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 14.670484
Long : 100.51999
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 663674.73
N : 1622430.55
ตำแหน่งงานศิลปะอยู่ภายในระเบียงคด

ประวัติการสร้าง

ไม่มีประวัติการสร้าง แต่เดิมอยู่ที่วัดพระธาตุหริภุญชัยก่อนจะนำมาประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตรฯ จากรูปแบบสามารถกำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21

กระบวนการสร้าง/ผลิต

หล่อสำริด

ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพุทธรูปองค์นี้แสดงปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานหน้าบัวคว่ำบัวหงายในผังแปดเหลี่ยมที่มีกลีบบัวขนาดใหญ่ พระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก สวมเทริดขนนกที่มี 5 ตาบเรียงด้านหน้าทั้งหมด ลวดลายภายในตาบเป็นลายดอกโบตั๋นแบบล้านนา มีผ้ากรรเจียกรูปพัดและกุณฑลที่พระกรรณ ปรากฏแถวเม็ดพระศก 1 แถวใต้กระบังหน้าของเทริดชนนก พระเนตรเหลือบต่ำ พระโอษฐ์แย้ม พระหนุเป็นปม พระรัศมีเป็นเปลวสูง พระวรกายผอมบางสมส่วน จีวรสวมทับสร้อยพระศอ สวมพาหุรัด ทองพระกร พระธำมรงค์ ชายสังฆาฏิแผ่นใหญ่ยาวถึงพระนาภีปลายแตกเป็นเขี้ยวตะขาบ ชายผ้าด้านหน้าแตกเป็น 2 ชาย

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ตัวอย่างพระพุทธรูปทรงเครื่องที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะปาละของอินเดียโดยตรง

ข้อสังเกตอื่นๆ

แม้ลักษณะเครื่องทรงพระพุทธรูป ได้แก่ การสวมเทริดขนนก 5 ตาบ ผ้ากรรเจียกรูปพัดที่พระกรรณ แถวเม็ดพระศก 1 แถวใต้กระบังหน้าของเทริดขนนกจะได้รับอิทธิพลจากศิลปะปาละ แต่ก็มีลักษณะที่ได้รับอิทธิลจากศิลปะพุกาม – หริภุญชัย ได้แก่ การไล่ขนาดตาบจากใหญ่ไปเล็ก รวมถึงมีลักษณะที่แสดงความเป็นพื้นเมืองล้านนา ได้แก่ การใช้ลายดอกโบตั๋นบนเทริดขนนก การเรียงตาบด้านหน้าทั้งหมด การสวมจีวรทับสร้อยพระศอ รวมถึงการปรากฏพาหุรัด

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะล้านนา
อายุพุทธศตวรรษที่ 21
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

1. พระพุทธรูปทรงเครื่อง ศาลาลบัณรศภาค วัดเบญจมบพิตรฯ กรุงเทพมหนานคร ตัวอย่างพระพุทธรูปทรงเครื่องที่ได้รับอิทธิพลศิลปะปาละของอินเดียและมีความเหมือนกับต้นแบบคือศิลปะ ปาละมากกว่าพระหริภุญชัยโพธิสัตว์ เช่น พระพักตร์ค่อนข้างดุและการผูกผ้ากรรเจียกลอย

2. พระศิลา วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ หลักฐานพระพุทธรูปศิลปะปาละของอินเดียในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระพุทธรูปปางปราบช้างนาฬาคีรีขนาดเล็กที่สามารถกำหนดอายุอยู่ในศิลปะ ปาละตอนกลาง

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-05-17
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.

เชษฐ์ ติงสัญชลี. ศิลปะไทย ภายใต้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียแบบปาละ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด, 2558.

Susan L. Huntington. Pala-Sena School of Sculpture. Leiden: E.J.Brill, 1984.