Arts in Southeast Asia

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ศิลปกรรมยอดนิยม

Most Popular

ศิลปกรรมล่าสุด

Latest

679

หอคอยมัสยิดกำปงกลิง

อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย

มาเลเซีย

สมัย/รูปแบบศิลปะ
อาณานิคมดัตช์
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 22-23
ประเภทงานศิลปะ
สถาปัตยกรรม
ฐานขั้นบันไดที่ปุระเกห็น
บังลี
สถาปัตยกรรมฐานขั้นบันไดที่ปุระเกห็น

เทวาลัยในศิลปะบาหลี ย่อมแบ่งอกเป็น 3 ลานเสมอ โดยลานชั้นนอกมักอยู่ด้านล่างสุดของเชิงเขา แทนโลกบาดาล ลานชั้นกลาง ส่วนส่วนกลางของเชิงเขาหมายถึงโลกมนุษย์ และลานชั้นนอกหมายถึงสวรรค์อันเป็นที่ประทับของเทพเจ้าอยู่ด้านบนสุดของเนินเขา การที่ความสูงของแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน ย่อมทำให้เกิดการสร้าง “พนักขั้นบันได” คั่นอยู่ในระหว่างลานแต่ละชั้น โดยช่างบาหลีได้ตกแต่งดังกล่าวด้วยประติมากรรมคั่นยู่เป็นระยะๆ ที่ด้านบนสุดปรากฏโคปุระซึ่งแสดถึงการกั้นพื้นที่ของจักรวาลในแต่ละชั้นและป้องกันสิ่งชั่วร้าย

ซุ้มประตู (โคปุระ) ที่ปุระเกห็น
บังลี
สถาปัตยกรรมซุ้มประตู (โคปุระ) ที่ปุระเกห็น

โคปุระ คือซุ้มประตูที่มียอดปราสาทด้านบน แสดถึงการกั้นพื้นที่ของจักรวาลในแต่ละชั้นและป้องกันสิ่งชั่วร้าย โคปุระในศิลปะบาหลี ย่อมประกอบด้วย “อาคารประธาน” และ “อาคารขนาบข้าง” เสมอ โดยบางครั้งอาคารขนาบข้างก็ปรากฏประตูด้วย เมื่อรวมกับประตูกลางแล้วจึงมีถึงสามประตู ด้านบนของประตูกลางมักปรากฏหน้ากาลขนาดใหญ่ หน้ากาลมีลักษณะดุร้าย ตาโปน มีเขี้ยว ยกมือขึ้นในท่าขู่ หน้ากาลมีหน้าที่ป้องกันความชั่วร้ายไม่ให้เข้าสู่เทวาลัย ยอดปราสาทประกอบด้วยเรือนธาตุจำลองซ้อนชั้นตามแบบอินเดียใต้ อย่างไรก็ตาม กลับประดับไปด้วยสัตว์ประหลาดและกนกงอนคล้ายที่ประดับบนสันหลังคาวัดจีน ซึ่งทั้งหมดนี้แตกต่างไปจากศิลปะชวาภาคตะวันออก

ซุ้มประตูแยกที่ปุระเกห็น
บังลี
สถาปัตยกรรมซุ้มประตูแยกที่ปุระเกห็น

ซุ้มประตูแยก หรือที่เรียกกันในภาษาบาหลี จันทิเบนตาร์ (Candi Bentar) ถือเป็นลักษณะเฉพาะในศิลปะนี้ ซุ้มประตูดังกล่าวประกอบด้วยเรือนธาตุและยอดปราสาทที่ถูกผ่าครึ่ง โดยพื้นที่ที่ถูกผ่าตรงกลางไม่มีลวดบัวใดๆ ซุ้มประตูแยก มีหน้าที่สำคัญในการป้องกันความชั่วร้ายเช่นเดียวกับซุ้มประตูที่มียอด

อาคารทรงเมรุที่ปุระตะมันอะยุง
เม็งวี
สถาปัตยกรรมอาคารทรงเมรุที่ปุระตะมันอะยุง

เทวาลัยแห่งนี้ มีชื่อเสียงในเรื่องการการจัดวางอาคารทรงเมรุให้เรียงกันในแถวเดียว โดยความสูงของยอดเมรุมีลักษณะลดหลั่นกัน ทำให้เกิดภูมิสถาปัตยกรรมที่งดงามยิ่ง อนึ่ง อาคารทรงเมรุเหล่านี้สร้างขั้นเพื่ออุทิศให้กับเทพเจ้าประจำภูเขาในเกาะบาหลีหลายลูก เช่น เขาอากุง เขาบาตูเกา และเขาบาตูร์ เป็นต้น อนึ่ง อาคารทรงเมรุซึ่งมีหลังคาซ้อนชั้น นอกจากจะมีความหมายโดยตรงอันหมายถึงปราสาทหรืออาคารฐานันดรสูงตามคติแบบอินเดียแล้ว ก็ยังมีความหมายโดยนัยจากชื่อที่เรียกที่สามารถเปรียบเทียบได้กับภูเขาพระสุเมรุ การใช้เมรุลดหลั่นกันที่ปุระตะมันอะยุง จึงแสดงสัญลักษณ์ของภูเขาที่มีการลดหลั่นทางความสูงอย่างชัดเจน

ปุระสะดา
กาปาล
สถาปัตยกรรมปุระสะดา

ปุระสะดา เป็นเทวาลัยประจำราชวงศ์เม็งวีหลังดั้งเดิมก่อนที่พ.ศ. 2283 จะมีการสร้างปุระตะมันอะยุงขึ้นเป็นเทวาลัยประจำราชวงศ์ที่ใหม่ ที่น่าสนใจก็คือปุระสะดาแห่งนี้ปรากฏแท่นบัลลังก์เปล่าจำนวนมากไม่ไกลนักจากปราสาทประธาน บัลลังก์เหล่านี้มีผู้ศึกษาแล้วว่าตรงกับจำนวนของบุคคลที่นั่งไปบนเรือในขณะที่นำพระอัฐิไปโปรยในทะเล อันแสดงให้เห็นว่าปุระแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่กษัตริย์ผู้วายชนม์อย่างชัดเจน

อาคารทรงเมรุที่ปุระเบซาคิห์
การางาเซ็ม
สถาปัตยกรรมอาคารทรงเมรุที่ปุระเบซาคิห์

อาคารทรงเมรุ คืออาคารทรงปราสาทในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซ้อนชั้นด้วยหลังคาลาดมุงฟางจำนวนหลายชั้น อันเป็นสัญลักษณ์ของอาคารที่มีฐานันดรสูง เป็นที่ประทับเทพเจ้าสำคัญซึ่งมักตั้งอยู่ ณ ลานด้านในสุดของปุระ หลังคาลาดมุงฟางนี้ย่อมทำให้อาคารทรงเมรุได้รับการซ่อมแซมอยู่อย่างสม่ำเสมอ แตกต่างไปโคปุระที่สร้างด้วยอิฐหรือหินซึ่งเป็นถาวรวัตถุ

อาคารทรงเมรุที่ปุระเกเห็น
บังลี
สถาปัตยกรรมอาคารทรงเมรุที่ปุระเกเห็น

อาคารทรงเมรุ คืออาคารทรงปราสาทในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซ้อนชั้นด้วยหลังคาลาดมุงฟางจำนวนหลายชั้น อันเป็นสัญลักษณ์ของอาคารที่มีฐานันดรสูง เป็นที่ประทับเทพเจ้าสำคัญซึ่งมักตั้งอยู่ ณ ลานด้านในสุดของปุระ หลังคาลาดมุงฟางนี้ย่อมทำให้อาคารทรงเมรุได้รับการซ่อมแซออยู่อย่างสม่ำเสมอ แตกต่างไปโคปุระที่สร้างด้วยอิฐหรือหินซึ่งเป็นถาวรวัตถุ ที่ปุระเกเห็น อาคารทรงเมรุมีลักษณะพิเศษ คือมีเต่าและนาครองรับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นศูนย์กลางจักรวาลตามจักรวาลวิทยาแบบฮินดู

ถ้ำที่กัวคชะ
เบดูลู
สถาปัตยกรรมถ้ำที่กัวคชะ

ที่กัวคชะปรากฏถ้ำที่ขุดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในศิลปะอินโดนีเซีย ด้านหน้าถ้ำสลักเป็นรูปหน้ากาลหน้าตาดุร้ายที่มีตาถลนตามแบบศิลปะชวาภาคตะวันออก-บาหลี หน้ากาลนี้คงมีความหมายในการขับไล่สิ่งชั่วร้าย โดยรอบมีภาพสลักเป็นฉากโขดหินธรรมชาติที่มีสัตว์ป่าอยู่เต็ม ภายในถ้ำดังกล่าวเป็นทางแคบๆในผังรูปตัวที มีแท่นที่นั่งซึ่งคงเป็นที่อยู่ของนักบวชมากกว่า