ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซุ้มประตูแยกที่ปุระเกห็น
คำสำคัญ : ปุระเกเห็น, จันทิเบนตาร์
ชื่อหลัก | ปุระเกเห็น |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ที่อยู่ | - |
จังหวัด/เมือง | บังลี |
รัฐ/แขวง | บาหลี |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : -8.441667 Long : 115.359722 |
ประวัติการสร้าง | - |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | ซุ้มประตูแยก หรือที่เรียกกันในภาษาบาหลี จันทิเบนตาร์ (Candi Bentar) ถือเป็นลักษณะเฉพาะในศิลปะนี้ ซุ้มประตูดังกล่าวประกอบด้วยเรือนธาตุและยอดปราสาทที่ถูกผ่าครึ่ง โดยพื้นที่ที่ถูกผ่าตรงกลางไม่มีลวดบัวใดๆ ซุ้มประตูแยก มีหน้าที่สำคัญในการป้องกันความชั่วร้ายเช่นเดียวกับซุ้มประตูที่มียอด |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | บาหลี |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 20-25 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | ซุ้มประตูแยกมักถูกเปรียบเทียบกับตำนานพื้นเมืองบาหลี ที่กล่าวว่า ในตอนสร้างเกาะบาหลี เทพเจ้าได้แบ่งภูเขาออกเป็นสองลูก คือภูเขาบาตูร์และเขาอากุง |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-02-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |