ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

อาคารทรงเมรุที่ปุระตะมันอะยุง

คำสำคัญ : ราชวงศ์เม็งวี, ปุระตะมันอะยุง

ชื่อหลักปุระตะมันอะยุง
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ที่อยู่-
จังหวัด/เมืองเม็งวี
รัฐ/แขวงบาหลี
ประเทศอินโดนีเซีย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : -8.5425386
Long : 115.1721261

ประวัติการสร้างปุระตะมันอะยุน สร้างขึ้นในพ.ศ.2283 กษัตริย์ราชวงศ์เม็งวี อุทิศให้กับบรรพบุรุษ ในขณะเดียวกันเองก็สร้างเทวาลัยอุทิศให้กับเทพเจ้าประจำภูเขาต่างๆของเกาะบาหลีด้วย
ลักษณะทางศิลปกรรมเทวาลัยแห่งนี้ มีชื่อเสียงในเรื่องการการจัดวางอาคารทรงเมรุให้เรียงกันในแถวเดียว โดยความสูงของยอดเมรุมีลักษณะลดหลั่นกัน ทำให้เกิดภูมิสถาปัตยกรรมที่งดงามยิ่ง อนึ่ง อาคารทรงเมรุเหล่านี้สร้างขั้นเพื่ออุทิศให้กับเทพเจ้าประจำภูเขาในเกาะบาหลีหลายลูก เช่น เขาอากุง เขาบาตูเกา และเขาบาตูร์ เป็นต้น อนึ่ง อาคารทรงเมรุซึ่งมีหลังคาซ้อนชั้น นอกจากจะมีความหมายโดยตรงอันหมายถึงปราสาทหรืออาคารฐานันดรสูงตามคติแบบอินเดียแล้ว ก็ยังมีความหมายโดยนัยจากชื่อที่เรียกที่สามารถเปรียบเทียบได้กับภูเขาพระสุเมรุ การใช้เมรุลดหลั่นกันที่ปุระตะมันอะยุง จึงแสดงสัญลักษณ์ของภูเขาที่มีการลดหลั่นทางความสูงอย่างชัดเจน
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะบาหลี
อายุพุทธศตวรรษที่ 20-25
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-02-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี