ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อาคารทรงเมรุที่ปุระเกเห็น
คำสำคัญ : โคปุระ, ปุระเกเห็น
ชื่อหลัก | ปุระเกเห็น |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ที่อยู่ | - |
จังหวัด/เมือง | บังลี |
รัฐ/แขวง | บาหลี |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : -8.441667 Long : 115.359722 |
ประวัติการสร้าง | - |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | อาคารทรงเมรุ คืออาคารทรงปราสาทในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซ้อนชั้นด้วยหลังคาลาดมุงฟางจำนวนหลายชั้น อันเป็นสัญลักษณ์ของอาคารที่มีฐานันดรสูง เป็นที่ประทับเทพเจ้าสำคัญซึ่งมักตั้งอยู่ ณ ลานด้านในสุดของปุระ หลังคาลาดมุงฟางนี้ย่อมทำให้อาคารทรงเมรุได้รับการซ่อมแซออยู่อย่างสม่ำเสมอ แตกต่างไปโคปุระที่สร้างด้วยอิฐหรือหินซึ่งเป็นถาวรวัตถุ ที่ปุระเกเห็น อาคารทรงเมรุมีลักษณะพิเศษ คือมีเต่าและนาครองรับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นศูนย์กลางจักรวาลตามจักรวาลวิทยาแบบฮินดู |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | บาหลี |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 20-25 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | ชื่อของอาคารทรงเมรุ รวมถึงยอดปราสาท ย่อมเปรียบเทียบได้กับยอดเขาพระสุเมรุอันเป็นที่ประทับของพระศิวะ อาคารทรงเมรุจึงมีนัยะการเป็นที่ประทับของเทพเจ้าเสมอ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-02-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |