ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซุ้มประตู (โคปุระ) ที่ปุระเกห็น
คำสำคัญ : โคปุระ, ปุระเกเห็น
ชื่อหลัก | ปุระเกเห็น |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ที่อยู่ | - |
จังหวัด/เมือง | บังลี |
รัฐ/แขวง | บาหลี |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : -8.4418702 Long : 115.3598612 |
ประวัติการสร้าง | - |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | โคปุระ คือซุ้มประตูที่มียอดปราสาทด้านบน แสดถึงการกั้นพื้นที่ของจักรวาลในแต่ละชั้นและป้องกันสิ่งชั่วร้าย โคปุระในศิลปะบาหลี ย่อมประกอบด้วย “อาคารประธาน” และ “อาคารขนาบข้าง” เสมอ โดยบางครั้งอาคารขนาบข้างก็ปรากฏประตูด้วย เมื่อรวมกับประตูกลางแล้วจึงมีถึงสามประตู ด้านบนของประตูกลางมักปรากฏหน้ากาลขนาดใหญ่ หน้ากาลมีลักษณะดุร้าย ตาโปน มีเขี้ยว ยกมือขึ้นในท่าขู่ หน้ากาลมีหน้าที่ป้องกันความชั่วร้ายไม่ให้เข้าสู่เทวาลัย ยอดปราสาทประกอบด้วยเรือนธาตุจำลองซ้อนชั้นตามแบบอินเดียใต้ อย่างไรก็ตาม กลับประดับไปด้วยสัตว์ประหลาดและกนกงอนคล้ายที่ประดับบนสันหลังคาวัดจีน ซึ่งทั้งหมดนี้แตกต่างไปจากศิลปะชวาภาคตะวันออก |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | บาหลี |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 20-25 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-02-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |