Arts in Southeast Asia
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ศิลปกรรมยอดนิยม
Most Popular
ศิลปกรรมล่าสุด
Latest
หอคอยมัสยิดกำปงกลิง
อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย
อาณานิคมดัตช์
พุทธศตวรรษที่ 22-23
สถาปัตยกรรม
ประติมากรรมเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
โขนเรือพระที่นั่งอนันตนาคราชเป็นรูปนาค 7 เศียร กลางลำทอดบุษบกสำหรับเชิญผ้าพระกฐินหรือประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ ลำเรือภายนอกทาสีเขียว ท้องเรือภายในทาสีแดง
ประติมากรรมเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
โขนเรือเป็นรูปหงส์แกะสลักลวดลายกระหนก ลงรักปิดทองประดับกระจกลำตัวเรือทอดยาวคือส่วนตัวหงส์ ลำเรือด้านนอกทาสีดำภายในทาสีแดงกลางลำเรือทอดบัลลังก์กัญญาและกั้นพระวิสูตรสำหรับเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อมีการพระราชพิธีจะประดับปลายปากหงส์โขนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ด้วยพู่ทำด้วยขนจามรีซึ่งนำมาจากประเทศเนปาลมีลักษณะเป็นขนสีขาวนุ่มละเอียด ปลายพู่เป็นแก้วผลึก
สถาปัตยกรรมเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
โขนเรือเป็นประติมากรรมรูปพระนารายณ์ 4 กร ทรงเทพศัตราได้แก่ ตรี คฑา จักร สังข์ ทรงเครื่องภูษิตาภรณ์และมงกุฎยอดชัย ประทับยืนเหนือครุฑ ไม้หัวเรือแกะสลักปิดทองร่องชาดประดับกระจกสีขาบ พื้นลำเรือทาสีแดง ลำเรือประดับลายก้านขดกระหนกเทศ กลางลำเรือประดับบัลลังก์กัญญา ท้ายเรือพระที่นั่งตลอดปลายประดับลวดลายกระหนกแทนขนปีกและหางครุฑ
สถาปัตยกรรมพระราชวังสราญรมย์
พระราชวังสราญรมย์เป็นสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิค (Classicism) ผังอาคารคล้ายอาคารสี่หลังสร้างล้อมรอบพื้นที่ตรงกลางเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีสนามอยู่ตรงกลาง ตัวอาคารด้านทิศตะวันตกซึ่งเป็นด้านหลัก เน้นความสง่างามเฉพาะด้านหน้า โดยมีแผนผังรูปตัว E คือมีมุขที่ด้านเหนือ กลาง และใต้ หน้าบันมุขเหนือและใต้เป็นรูปสามเหลี่ยมแบบวิหารกรีกประดับตาพระเกี้ยว หน้าบันมุขกลางรูปวงโค้งประดับตราพระมหามงกุฎเหนือช้างสามเศียรขนาบข้างด้วยคชสีห์และราชสีห์ หน้าบันทั้งหมดรองรับด้วยเสาโครินเธียนลอยตัวจากระเบียง มีมุขกระสันซึ่งเป็นระเบียงโปร่งเชื่อมอาคารและมุข หน้าต่างเป็นช่องสี่เหลี่ยมแคบยาวอย่างที่เรียกว่าชุดหน้าต่างพาลาเดียน (Palladian Window) รูปแบบดังกล่าวเป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิคพาลาเดียนในสมัยรัชกาลที่ 5
ประติมากรรมพระมหาพิชัยราชรถ
ราชรถช่วงล่างประกอบด้วยวงล้อ 4 ล้อ ส่วนหน้ารถเรียกว่าเกริน สลักลวดลายกระหนกออกปลายรูปหัวนาค ส่วนท้ายรถเรียกว่า ท้ายเกริน สลักลวดลายกระหนกออกปลายรูปหางนาค ส่วนกลางราชรถลดหลั่นเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นประดับประติมากรรมรูปเทพนม เหนือฐานราชรถช่วงกลางประดิษฐานบุษบกเรือนยอด เสาย่อมมุมไม้สิบสองประดับพระวิสูตรผู้ไว้ทั้ง 4 ด้าน ฐานบุษบกสลักลายประจำยามก้ามปู กระจังตาอ้อย และเทพนม หลังคาบุษบกเป็นเรือนซ้อนชั้นและมียอดแหลม องค์ประกอบทั้งหมดปิดทองประดับกระจกสี
สถาปัตยกรรมพระมหาเจดีย์สี่รัชกาล
พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน และพระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขาร ล้วนเป็นเจดีย์ทรงเครื่องซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยเป็นรูปแบบที่สืบเนื่องมาจากศิลปะอยุธยาตอนปลาย มีองค์ประกอบที่สำคัญจากส่วนฐานได้แก่ ชุดฐานสิงห์ บัวทรงคลุ่ม องค์ระฆังเพิ่มมุม บัวทรงคลุ่มเถา ปลี ลูกแก้ว และปลียอด ประดับกระเบื้องเคลือบและกระเบื้องเครื่องถ้วยลวดลายต่างๆ โดยพระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณประดับกระเบื้องเคลือบสีเขียว พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทานประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว พระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขารประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ส่วนพระมหาเจดีย์ที่รัชกาลที่ 4 ทรงสร้าง มีรูปแบบเป็นเจดีย์เพิ่มมุม ประดับกระเบื้องเคลือบสีขาบหรือสีน้ำเงิน ซึ่งเจดีย์เพิ่มมุมเป็นรูปแบบที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนกลางเป็นต้นมา
สถาปัตยกรรมพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังลาราม
พระอุโบสถเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน เครื่องหลังคาแบบไทยประเพณี หน้าบันประดับเครื่องลำยอง ได้แก่ ช่อฟ้า ใบระกา นาคสะดุ้ง หางหงส์ ปิดทองประดับกระจก รอบอุโบสถมีเสาพาไลทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ไม่ประดับบัวหัวเสา พนักระเบียงรอบพระอุโบสถมีช่องสี่เหลี่ยมประดับประติมากรรมหินอ่อนแกะสลักนูนต่ำเรื่องรามเกียรติ์ บานประตูพระอุโบสถด้านนอกประดับมุกเป็นลวดลายภาพตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์ ด้านในเขียนลายรดน้ำรูปพัดยศพระราชาคณะ พระครูสัญญาบัตร ฐานานุกรมเปรียญทั้งฝ่ายคามวาสีและอรัญวาสีในกรุงและหัวเมือง จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถเหนือช่องหน้าต่างเขียนเรื่องมโหสถบัณฑิต ผนังระหว่างช่องประตูหน้าต่างเขียนเรื่องพระสาวกเอตทัคคะ บานหน้าต่างด้านในเขียนลายรดน้ำเป็นรูปตราประจำตำแหน่งเจ้าคณะสงฆ์ในกรุงและหัวเมืองสมัยรัชกาลที่ 3 ด้านนอกแกะสลักเป็นลายแก้วชิงดวง
ประติมากรรมพระพุทธไสยาส, พระพุทธไสยาสน์
พระพุทธรูปประทับนอนตะแคงขวาหรือสีหไสยาสน์ พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรองรับพระเศียร โดยมีพระเขนยทรงสี่เหลี่ยมประดับลวดลายดอกไม้อิทธิพลศิลปะจีนรองรับอีกทีหนึ่ง พระพุทธรูปมีรูปแบบเป็นศิลปะรัตนโกสินทร์ กล่าวคือ พระพักตร์สงบนิ่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระขนงโก่ง พระโอษฐ์บางเรียว พระกรรณยาว ขมวดพระเกศาขนาดเล็ก มีอุษณีษะ และพระรัศมีเป็นเปลวเพลิง ครองจีวรห่มเฉียงเรียบ ไม่มีริ้ว จีวรบางแนบพระวรกาย มีชายสังฆาฏิเป็นแถบสี่เหลี่ยม ปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ พาดจากพระอังสาซ้ายมาที่กลางพระอุระ ยาวจรดกึ่งกลางพระนาภี สบงมีแถบสี่เหลี่ยมยาวที่ด้านหน้าจรดข้อพระบาท และมีขอบรัดประคดฝ่าพระบาททั้ง 2 ข้าง ประดับมุกลวดลายมงคล 108 ประการ แบ่งประเภทต่างๆ ได้ดังนี้1. สัญลักษณ์แห่งโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ เช่น หม้อน้ำ ปลาคู่ สวัสดิกะ พวงมณี ดอกบัว เป็นต้น2. เครื่องประกอบพระบารมีของกษัตริย์และพระเจ้าจักรพรรดิ เช่น รัตนะ 7 ประการ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ บัลลังก์ เครื่องสูง เครื่องยศ เครื่องต้นต่างๆ และราชพาหนะ เป็นต้น 3. ภาพสัญลักษณ์ภูมิในจักรวาลตามความเชื่อของพระพุทธศาสนา เช่น เขาจักรวาล มหาสมุทร ทวีปทั้ง 4 เขาพระสุเมรุ เขาสัตตบริภัณฑ์ ป่าหิมพานต์ เป็นต้น