ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังลาราม
คำสำคัญ : พระอุโบสถ, วัดโพธิ์, วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, ท่าเตียน
ชื่อเรียกอื่น | โบสถ์วัดโพธิ์ |
---|---|
ชื่อหลัก | วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม |
ชื่ออื่น | วัดโพธิ์ท่าเตียน |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | พระบรมมหาราชวัง |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.746525 Long : 100.493305 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 661455.45 N : 1520192.72 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | เขตพุทธาวาส |
ประวัติการสร้าง | พระอุโบสถสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 และขยายใหญ่ขึ้นดังที่เห็นในปัจจุบันเมื่อสมัยรัชกาลที่ 3 |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ปิดทองประดับกระจก |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระอุโบสถเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน เครื่องหลังคาแบบไทยประเพณี หน้าบันประดับเครื่องลำยอง ได้แก่ ช่อฟ้า ใบระกา นาคสะดุ้ง หางหงส์ ปิดทองประดับกระจก รอบอุโบสถมีเสาพาไลทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ไม่ประดับบัวหัวเสา พนักระเบียงรอบพระอุโบสถมีช่องสี่เหลี่ยมประดับประติมากรรมหินอ่อนแกะสลักนูนต่ำเรื่องรามเกียรติ์ บานประตูพระอุโบสถด้านนอกประดับมุกเป็นลวดลายภาพตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์ ด้านในเขียนลายรดน้ำรูปพัดยศพระราชาคณะ พระครูสัญญาบัตร ฐานานุกรมเปรียญทั้งฝ่ายคามวาสีและอรัญวาสีในกรุงและหัวเมือง จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถเหนือช่องหน้าต่างเขียนเรื่องมโหสถบัณฑิต ผนังระหว่างช่องประตูหน้าต่างเขียนเรื่องพระสาวกเอตทัคคะ บานหน้าต่างด้านในเขียนลายรดน้ำเป็นรูปตราประจำตำแหน่งเจ้าคณะสงฆ์ในกรุงและหัวเมืองสมัยรัชกาลที่ 3 ด้านนอกแกะสลักเป็นลายแก้วชิงดวง |
สกุลช่าง | ช่างหลวง |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เดิมชื่อวัดโพธิ์ หรือวัดโพธาราม เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์เนื่องจากเป็นวัดที่อยู่ใกล้กับพระบรมมหาราชวัง ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายพระอุโบสถให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีรูปแบบอย่างที่เรียกว่าทรงไทยประเพณีแบบพระราชนิยม กล่าวคือ หลังคาประกอบด้วยเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ประดับเครื่องลำยอง ปิดทองประดับกระจกอย่างไทยประเพณี มีเสาพาไลก่ออิฐถือปูนรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ที่ไม่ประดับบัวหัวเสาอยู่โดยรอบพระอุโบสถ ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร พระพุทธรูปประธานปางสมาธิซึ่งได้อัญเชิญมาจากวัดคูหาสวรรค์ ที่ฐานชุกชีของพระประธานเป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรังคารของรัชกาลที่ 1 จึงถือกันว่าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 24 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | พระพุทธเทวปฏิมากร พระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ, จิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระสาวกเอตทัคคะภายในพระอุโบสถ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-07-01 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | ศานติ ภักดีคำ. สถาปัตย์วัดโพธิ์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2552. ศานติ ภักดีคำ, ผู้ตรวจสอบชำระและบรรณาธิการ. จดหมายเหตุวัดพระเชตุพนสมัยรัชกาลที่ 1-4. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2552. |