ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระราชวังสราญรมย์
คำสำคัญ : รัชกาลที่ 5, วังสราญรมย์, พระราชวังสราญรมย์
ชื่อเรียกอื่น | วังสราญรมย์ |
---|---|
ชื่อหลัก | พระราชวังสราญรมย์ |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | พระบรมมหาราชวัง |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.750375 Long : 100.494686 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 661598.96 N : 1520619.94 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ริมถนนสนามไชย ตรงข้ามพระบรมมหาราชวังด้านตะวันออก |
ประวัติการสร้าง | สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อพ.ศ.2409 |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ก่ออิฐถือปูน |
ประวัติการอนุรักษ์ | บูรณะครั้งใหญ่ในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ.2441 โดยกรมโยธาธิการเพื่อให้เป็นเพื่อให้เป็นที่ประทับของพระราชอาคันตุกะ |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระราชวังสราญรมย์เป็นสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิค (Classicism) ผังอาคารคล้ายอาคารสี่หลังสร้างล้อมรอบพื้นที่ตรงกลางเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีสนามอยู่ตรงกลาง ตัวอาคารด้านทิศตะวันตกซึ่งเป็นด้านหลัก เน้นความสง่างามเฉพาะด้านหน้า โดยมีแผนผังรูปตัว E คือมีมุขที่ด้านเหนือ กลาง และใต้ หน้าบันมุขเหนือและใต้เป็นรูปสามเหลี่ยมแบบวิหารกรีกประดับตาพระเกี้ยว หน้าบันมุขกลางรูปวงโค้งประดับตราพระมหามงกุฎเหนือช้างสามเศียรขนาบข้างด้วยคชสีห์และราชสีห์ หน้าบันทั้งหมดรองรับด้วยเสาโครินเธียนลอยตัวจากระเบียง มีมุขกระสันซึ่งเป็นระเบียงโปร่งเชื่อมอาคารและมุข หน้าต่างเป็นช่องสี่เหลี่ยมแคบยาวอย่างที่เรียกว่าชุดหน้าต่างพาลาเดียน (Palladian Window) รูปแบบดังกล่าวเป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิคพาลาเดียนในสมัยรัชกาลที่ 5 |
สกุลช่าง | ช่างชาวตะวันตก |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังสราญรมย์ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมอย่างตะวันตกเมื่อ พ.ศ.2409 โดยสร้างอยู่ใกล้กับพระบรมมหาราชวังด้านตะวันออก ด้วยทรงพระราชดำริว่าเมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจุฬาลงกรณ์ทรงผนวชแล้ว จะทรงสละราชสมบัติ แล้วเสด็จออกไปประทับที่พระราชวังสราญรมย์เพื่อทรงช่วยแนะนำราชการแผ่นดินตลอดพระชนมายุ แต่รัชกาลที่ 4 ได้เสด็จสวรรคตก่อน แนวพระราชดำริเมื่อแรกสร้างพระราชวังสราญรมย์จึงถือเป็นการเตรียมการณ์ล่วงหน้าซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในราชสำนัก พระราชวังสราญรมย์ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 หลายประการ เพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ที่พักของพระราชอาคันตุกะ และต่อมาได้เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 25 |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | ประเพณีในราชสำนัก |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-07-01 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยามสมัยรัชกาลที่ 4 - พ.ศ.2480. กรุงเทพฯ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553. |