ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 8 จาก 20 รายการ, 3 หน้า
พระเจดีย์กลางน้ำ จ.ระยอง
ระยอง
สถาปัตยกรรมพระเจดีย์กลางน้ำ จ.ระยอง

เจดีย์ก่ออิฐถือปูนทาสีขาว มีฐานประทักษิณที่มีพนักระเบียงในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประดับพนักระเบียงด้วยลูกถ้วยเคลือบ มีบันไดขึ้น 2 ข้าง มีกำแพงแก้วเตี้ยในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสล้อมรอบ รองรับเจดีย์ทรงระฆังในผังกลม ประกอบด้วยฐานบัวคว่ำบัวหงาย ชุดมาลัยเถา บัวลูกแก้วอกไก่เป็นส่วนรองรับองค์ระฆัง แต่ละชั้นค่อนข้างยืดสูง ถัดขึ้นไปเป็นองค์ระฆัง บัลลังก์สี่เหลี่ยม เสาหาน ปล้องไฉนและปลียอด ลานด้านล่างโดยรอบปูด้วยกระเบื้องดินเผาสีอิฐ

เจดีย์อิสรภาพ จ.จันทบุรี
จันทบุรี
สถาปัตยกรรมเจดีย์อิสรภาพ จ.จันทบุรี

เจดีย์ก่ออิฐถือปูนทาสีขาว มีฐานประทักษิณที่มีพนักระเบียงในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประดับพนักระเบียงด้วยกระเบื้องเคลือบปรุลายแบบจีน มีกำแพงแก้วเตี้ยในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสล้อมรอบ รองรับเจดีย์ทรงระฆังในผังกลม ประกอบด้วยฐานบัวคว่ำบัวหงาย ชุดมาลัยเถา บัวลูกแก้วอกไก่เป็นส่วนรองรับองค์ระฆัง แต่ละชั้นค่อนข้างยืดสูง ถัดขึ้นไปเป็นองค์ระฆัง บัลลังก์สี่เหลี่ยม เสาหาน ปล้องไฉนและปลียอด

อลังกรณเจดีย์
จันทบุรี
สถาปัตยกรรมอลังกรณเจดีย์

เจดีย์ก่อด้วยศิลาแลงมีฐานประทักษิณที่มีพนักระเบียงในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีบันไดทางขึ้นทั้ง 4 ด้าน รองรับเจดีย์ทรงระฆังในผังกลม ประกอบด้วยฐานบัวคว่ำบัวหงาย ชุดมาลัยเถา บัวลูกแก้วอกไก่เป็นส่วนรองรับองค์ระฆัง องค์ระฆัง บัลลังก์สี่เหลี่ยม เสาหาน ปล้องไฉนและปลียอด

หุ่นวังหน้า
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมหุ่นวังหน้า

โครงหุ่นแกะเหลาด้วยไม้เนื้ออ่อนที่มีน้ำหนักเบาคว้านเจาะให้กลวงตลอดลำตัวเพื่อร้อยเชือกสำหรับชักให้อวัยวะบางส่วนเคลื่อนไหวได้หัวหุ่นโกลนด้วยไม้เนื้ออ่อนเช่นเดียวกับตัวหุ่นแล้วปั้นเสริมรายละเอียดบนใบหน้าด้วยรักปิดกระดาษเขียนสีตัดเส้นวิธีเดียวกับหัวโขนส่วนคอของหุ่นมีก้านไม้เล็กๆ ต่อยาวลงไปทางช่องกลวงกลางลำตัวสำหรับบังคับหุ่นให้หันหน้าไปมาได้ขณะที่เชิดอวัยวะส่วนต่างๆของหุ่นยึดด้วยเชือกเส้นเล็กๆมีสายเชือกสำหรับชักหุ่นโดยปลายสายชักมีห่วงสำหรับคนเชิดสอดนิ้วบังคับให้หุ่นเคลื่อนไหวหุ่นตัวพระที่สำคัญเช่นพระรามสีเขียวสวมชฎายอดบัดเครื่องประดับศีรษะหุ่นตัวพระมีทั้งชฎาเครื่องยอดและสวมกะบังหน้าประกอบกรรเจียกจอน เครื่องแต่งกายประกอบด้วยอินทรธนูสังวาลตาบทิศทับทรวงสวมสนับเพลาทับด้วยผ้าโจงมีผ้าห้อยหน้าผ้าห้อยข้างการแต่งกายของตัวพระคล้ายกับโขนหุ่นตัวนาง หากเป็นหญิงสูงศักดิ์เครื่องประดับศีรษะจะสวมชฎาหากเป็นยักษ์สวมรัดเกล้ายักษ์ที่มีศักดิ์ใช้รัดเกล้ายอดส่วนนางกำนัลใช้รัดเกล้าเปลว แต่งกายยืนเครื่อง นุ่งผ้าจีบยาวถึงข้อเท้า ห่มสไบสะพักสองบ่า สวมเครื่องประดับต่างๆ เช่นเดียวกับการแสดงโขนหุ่นตัวยักษ์มีการกำหนดศิราภรณ์ให้มียอดแตกต่างกันและมีสีกายรูปแบบของปากตาและอาวุธแตกต่างกัน โดยมีลักษณะเช่นเดียวกับการแสดงโขน เช่น ทศกัณฐ์กายสีเขียว หน้ายักษ์ตาโพลงปากแสยะเขี้ยวโง้ง เป็นต้น เช่นเดียวกับหุ่นลิงที่มีการกำหนดสีกายและลักษณะหัวโขนแตกต่างกันในแต่ละตัว

จิตรกรรมเรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน
กรุงเทพมหานคร
จิตรกรรมจิตรกรรมเรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน

ภาพพระราชพิธีในแต่ละเดือนเขียนขึ้นที่ผนังระหว่างช่องหน้าต่าง โดยปรากฏอิทธิพลการเขียนภาพแบบตะวันตกแล้ว กล่าวคือ มีการใช้เส้นขอบฟ้า กำหนดมิติของภาพให้เกิดระยะที่ใกล้-ไกล ภาพทิวทัศน์ เช่น ท้องฟ้า ก้อนเมฆ ต้นไม้เขียนขึ้นโดยคำนึงถึงความสมจริง ภาพอาคารสถานที่ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีมักเป็นพระมหาปราสาทและอาคารต่างๆที่มีอยู่จริงในพระบรมมหาราชวังและพื้นที่ใกล้เคียง เช่น บริเวณท่าราชวรดิษฐ์ที่ประกอบด้วยป้อมและหมู่พระที่นั่งต่างๆ ซึ่งปัจจุบันไม่เหลือหลักฐานแล้ว ภาพการโล้ชิงช้าที่เสาชิงช้าหน้าโบสถ์พราหมณ์ เป็นต้น ภาพบุคคลแต่งกายตามสถานภาพ มีทั้งที่เป็นทหารใส่เครื่องแบบที่พัฒนาการตะวันตก ภาพชาววังและชาวบ้านที่แต่งกายตามสมัยนิยม รวมทั้งชาวต่างชาติที่มีอยู่ในสังคมขณะนั้น การลงสีมีการแรเงา ไล่น้ำหนักสีอ่อนแก่ ภาพบุคคลมีขนาดเล็กเมือเทียบกับภาพสถาปัตยกรรม มีความพยายามเขียนภาพเหมือนบุคคลขนาดเล็กด้วย

สุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
กรุงเทพมหานคร
สถาปัตยกรรมสุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

อนุสาวรีย์ต่างๆ ในสุสานหลวงมีทั้งหมด 34 องค์อนุสาวรีย์ที่เป็นประธาน ได้แก่ สุนันทานุสาวรีย์, รังษีวัฒนา, เสาวภาประดิษฐาน และสุขุมาลนฤมิตร์ 1.สุนันทานุเสาวรีย์ เป็นอาคารโถงที่มีส่วนยอดเป็นเจดีย์ทรงระฆัง บุด้วยโมเสคสีทอง เป็นที่บรรจุพระสรีรางคารสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ โสภางคทัศนียลักษณ์ อัครวรราชกุมารี พระราชธิดา 2. รังษีวัฒนา อาคารประธานเป็นผังแบบจตุรมุข ที่มีมุขกระสันเชื่อมไปยังมุขทิศเหนือและใต้ส่วนบนของมุขกลางเป็นเจดีย์ทรงระฆังบุด้วยโมเสคสีทองส่วนบนของมุขทิศเหนือและใต้เป็นเจดีย์ทรงระฆังสีขาว เป็นที่บรรจุพระอัฐิและพระสรีรังคารสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชโอรส พระราชธิดาและราชกุลในพระองค์ 3.เสาวภาประดิษฐานมีลักษณะเหมือนกับอนุสาวรีย์รังษีวัฒนา คืออาคารประธานเป็นผังแบบจตุรมุข ที่มีมุขกระสันเชื่อมไปยังมุขทิศเหนือและใต้ส่วนบนของมุขกลางเป็นเจดีย์ทรงระฆังบุด้วยโมเสคสีทองส่วนบนของมุขทิศเหนือและใต้เป็นเจดีย์ทรงระฆังสีขาว เป็นที่บรรจุพระอัฐิและพระสรีรังคารสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชโอรส พระราชธิดา และราชกุลในพระองค์ 4.สุขุมาลนฤมิตร์เป็นอาคารโถงที่มีส่วนยอดเป็นเจดีย์ทรงระฆังบุด้วยโมเสคสีทอง เป็นที่บรรจุพระสรีรางคารสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และเจ้าคุณจอมมารดาสำลี บุนนาคพร้อมทั้งพระประยูรญาติแห่งราชสกุลบริพัตร

พระราชวังสราญรมย์
กรุงเทพมหานคร
สถาปัตยกรรมพระราชวังสราญรมย์

พระราชวังสราญรมย์เป็นสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิค (Classicism) ผังอาคารคล้ายอาคารสี่หลังสร้างล้อมรอบพื้นที่ตรงกลางเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีสนามอยู่ตรงกลาง ตัวอาคารด้านทิศตะวันตกซึ่งเป็นด้านหลัก เน้นความสง่างามเฉพาะด้านหน้า โดยมีแผนผังรูปตัว E คือมีมุขที่ด้านเหนือ กลาง และใต้ หน้าบันมุขเหนือและใต้เป็นรูปสามเหลี่ยมแบบวิหารกรีกประดับตาพระเกี้ยว หน้าบันมุขกลางรูปวงโค้งประดับตราพระมหามงกุฎเหนือช้างสามเศียรขนาบข้างด้วยคชสีห์และราชสีห์ หน้าบันทั้งหมดรองรับด้วยเสาโครินเธียนลอยตัวจากระเบียง มีมุขกระสันซึ่งเป็นระเบียงโปร่งเชื่อมอาคารและมุข หน้าต่างเป็นช่องสี่เหลี่ยมแคบยาวอย่างที่เรียกว่าชุดหน้าต่างพาลาเดียน (Palladian Window) รูปแบบดังกล่าวเป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิคพาลาเดียนในสมัยรัชกาลที่ 5

จิตรกรรมเรื่องพระราชประวัติรัชกาลที่ 5
กรุงเทพมหานคร
จิตรกรรมจิตรกรรมเรื่องพระราชประวัติรัชกาลที่ 5

จิตรกรรมพระราชประวัติรัชกาลที่ 5 เขียนภาพเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในราชสำนักตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 4 ถึงกระทั่งเมื่อย้ายพระที่นั่งทรงผนวชจากในพระบรมมหาราชวังมาสร้างไว้ที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ละห้องภาพปรากฏภาพพระราชพิธีที่สำคัญ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ รวมทั้งพระราชกรณียกิจต่างๆ เช่น ภาพการเสด็จออกรับราชทูต โดยมีฉากหลังเป็นสถานที่สำคัญที่มีอยู่จริง เช่น ภาพพระที่นั่งและอาคารสำคัญต่างๆในพระบรมมหาราชวัง ภาพพระปฐมเจดีย์ พระสมุทรเจดีย์ เป็นต้น เทคนิคการเขียนภาพใช้หลักทัศนียวิทยาอย่างตะวันตกที่สมจริงและเคร่งครัดมากขึ้นกว่าจิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่ 4 นอกจากนี้ยัง ภาพจิตรกรรมยังแสดงให้เห็นสภาพสังคมในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นภาพบ้านเรือน การแต่งกายของผู้คน การใช้เรือเป็นพาหนะสัญจร การใช้ธงชาติ มหรสพและการละเล่นต่างๆ