ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จิตรกรรมเรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน
คำสำคัญ : จิตรกรรมเรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน, วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม, วัดราชประดิษฐ, รัชกาลที่ 5
ชื่อหลัก | วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม |
---|---|
ชื่ออื่น | วัดราชประดิษฐ |
ประเภทงานศิลปะ | จิตรกรรม |
ตำบล | พระบรมมหาราชวัง |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.74955 Long : 100.495522 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 661691.97 N : 1520531.38 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ผนังภายในพระวิหารหลวง |
ประวัติการสร้าง | จิตรกรรมฝาผนังเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ภาพเขียนสีฝุ่น |
ลักษณะทางศิลปกรรม | ภาพพระราชพิธีในแต่ละเดือนเขียนขึ้นที่ผนังระหว่างช่องหน้าต่าง โดยปรากฏอิทธิพลการเขียนภาพแบบตะวันตกแล้ว กล่าวคือ มีการใช้เส้นขอบฟ้า กำหนดมิติของภาพให้เกิดระยะที่ใกล้-ไกล ภาพทิวทัศน์ เช่น ท้องฟ้า ก้อนเมฆ ต้นไม้เขียนขึ้นโดยคำนึงถึงความสมจริง ภาพอาคารสถานที่ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีมักเป็นพระมหาปราสาทและอาคารต่างๆที่มีอยู่จริงในพระบรมมหาราชวังและพื้นที่ใกล้เคียง เช่น บริเวณท่าราชวรดิษฐ์ที่ประกอบด้วยป้อมและหมู่พระที่นั่งต่างๆ ซึ่งปัจจุบันไม่เหลือหลักฐานแล้ว ภาพการโล้ชิงช้าที่เสาชิงช้าหน้าโบสถ์พราหมณ์ เป็นต้น ภาพบุคคลแต่งกายตามสถานภาพ มีทั้งที่เป็นทหารใส่เครื่องแบบที่พัฒนาการตะวันตก ภาพชาววังและชาวบ้านที่แต่งกายตามสมัยนิยม รวมทั้งชาวต่างชาติที่มีอยู่ในสังคมขณะนั้น การลงสีมีการแรเงา ไล่น้ำหนักสีอ่อนแก่ ภาพบุคคลมีขนาดเล็กเมือเทียบกับภาพสถาปัตยกรรม มีความพยายามเขียนภาพเหมือนบุคคลขนาดเล็กด้วย |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | จิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชพิธี ต่างๆที่จัดขึ้นในราชสำนักเป็นประจำในแต่ละเดือนเพื่อความเป็นสิริมงคลและความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง เนื้อหาของภาพจิตรกรรมสอดคล้องกับบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน และโคลงพระราชพิธีทวาทศมาศ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ภาพพระราชพิธีบางประการที่ปรากฏในงานจิตรกรรมยังคงมีให้เห็นมาจนถึงปัจจุบัน แต่ยังมีอีกหลายพระราชพิธีที่ได้ปรับเปลี่ยนหรือล้มเลิกไปตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและวัฒนธรรม จิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระราชพิธีสิงสองเดือนจึงทำหน้าที่สะท้อนเหตุการณ์ร่วมสมัยในอดีต โดยยังคงแสดงภาพรายละเอียดที่มีการจัดพระราชพิธีต่างๆ ในพระบรมมหาราชวังและพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ทราบสืบไป จิตรกรรมเรื่องนี้ยังมีที่เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 อีกแห่งหนึ่งคือที่วัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีเนื้อหาและการจัดองค์ประกอบภาพที่ใกล้เคียงกัน |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 25 |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | ประเพณีในราชสำนัก |
ตำนานที่เกี่ยวข้อง | พระราชนิพนธ์เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน, โคลงพระราชพิธีทวาทศมาศ |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | จิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือนที่พระอุโบสถ วัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-08-01 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร. “การพระราชพิธีสิบสองเดือนในจิตรกรรมฝาผนังวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร” (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์ศิลปะ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546.) |