Arts in Southeast Asia
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ศิลปกรรมยอดนิยม
Most Popular
ศิลปกรรมล่าสุด
Latest
หอคอยมัสยิดกำปงกลิง
อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย
อาณานิคมดัตช์
พุทธศตวรรษที่ 22-23
สถาปัตยกรรม
ประติมากรรมฐานของพระพุทธรูปสำริด
ในพุทธศตวรรษที่ 22-24 พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างมักมีฐานที่สูงและมีลวดบัวที่ซับซ้อน โดยฐานมักหล่อเป็นสำริดเช่นเดียวกับ ฐานมักประกอบด้วยฐานสิงห์ซึ่งมีกาบเท้าสิงห์ประกอบไปด้วยวงโค้งต่อเนื่องกันคล้ายศิลปะอยุธยาตอนกลาง ถัดขึ้นมาได้แก่บังคว่ำและท้องไม้ซึ่งคาดลูกแก้วอกไก่ ถัดขึ้นไปคือบัวหงายประกบบัวคว่ำอันเป็นการลดความแข้งกระด้างของหน้ากระดานบนและทำให้ฐานสามารถแสดงการ “งอน” ได้ตามต้องการ การงอนนี้ถือเป็นสุนทรียภาพสำคัญของลวดบัวในศิลปะล้านช้าง
ประติมากรรมพระพุทธรูปสำริด
ในพุทธศตวรรษที่ 22-24 พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างมีลักษณะเด่นหลายประการ เช่น การที่พระพักตร์มีลักษณะแบบพื้นบ้าน เม็ดพระศกเล็กและมีไรพระศก พระเศียรโตแต่พระอังสาแคบ พระวรกายผอมสูง จีวรเรียบไม่มีริ้ว มีชายผ้าหน้างด้านหน้าตามแบบอิทธิพลอยุธยา แต่ชายจีวรมีการกระดกขึ้นซึ่งลักษณะหลังถือเป็นลักษณะเฉพาะของล้านช้าง
ประติมากรรมพระพุทธรูปสำริด
ในพุทธศตวรรษที่ 22-24 พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างมีลักษณะเด่นหลายประการ เช่น การที่พระพักตร์มีลักษณะแบบพื้นบ้าน เม็ดพระศกเล็กและมีไรพระศก พระเศียรโตแต่พระอังสาแคบ พระวรกายผอมสูง จีวรเรียบไม่มีริ้ว มีชายผ้าหน้านางด้านหน้าตามแบบอิทธิพลอยุธยา แต่ชายจีวรมีการกระดกขึ้นซึ่งลักษณะหลังถือเป็นลักษณะเฉพาะของล้านช้าง ที่น่าสนใจก็คือพระพุทธรูปองค์นี้ที่ปลายจีวรมีการขมวดม้วนเป็นลายก้นหอยซึ่งปรากฏเช่นกันกับพระพุทธรูปปูนปั้นประดับเจดีย์บางองค์ในเมืองเวียงจันทน์
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่วัดมโนรม
พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างช่วงต้น มีความใกล้ชิดกับศิลปะสุโขทัยอย่างมาก เช่น มีพระพักตร์รูปไข่ พระเกศาขมวดใหญ่ มีพระรัศมีเป็นเปลวไฟ พระเนตรเหลือบต่ำ พระอังสาใหญ่ ชายสังฆาฏิเป็นเส้นเล็กยาวลงมาจรดพระนาภี
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่วัดแสน
พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างระยะหลัง อิทธิพลของศิลปะสุโขทัย ล้านนาได้คลี่คลายเป็นพื้นเมืองล้านช้างมากขึ้น
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่วัดศรีบุญเรือง
พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างระยะหลัง อิทธิพลของศิลปะสุโขทัย ล้านนาได้คลี่คลายเป็นพื้นเมืองล้านช้างมากขึ้น รัศมีเป็นเปลวไฟตามแบบสุโขทัยยังคงปรากฏอยู่ แต่เม็ดพระศกกลับเล็กลงและแหลมคม มีไรพระศก เครื่องประกอบพระพักตร์ เช่น พระเนตร มีความเป็นพื้นเมืองมากขึ้น เช่น ดูชี้ขึ้น พระนาสิกใหญ่ ไม่ได้อ่อนหวานเท่าพระพักตร์แบบสุโขทัย
ประติมากรรมการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ของแม่พระ
นอกจากพระเยซูเจ้าแล้ว พระนางมาเรียก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้รับพรจากพระเป็นเจ้าในการยกขึ้นสู่สวรรค์ทั้งเป็น เนื่องจากพระนางเป็นหญิงพรหมจรรย์ผู้เป็นมารดาแห่งพระเยซูเจ้า ทรงปราศจากบาปกำเนิดและทรงยิ่งใหญ่กว่าหญิงทั้งปวง พระนางยังได้รับเกียรติยกขึ้นเป็นราชินีแห่งสวรรค์อีกด้วย การขึ้นสู่สวรรค์ของแม่พระ หรือที่เรียกกันว่า Assumption นั้นไม่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิ้ลแต่เกิดมาจากความเชื่อของคริสตศาสนิกชนนิกายโรมันคาธอลิก
ประติมากรรมพระเยซูองค์ดำ
ในบาซิลิก้าแห่งไควอาโป ปรากฏรูปพระเยซูซึ่งได้รับการนับถือมากที่สุดในเมืองมะนิลาหรือในประเทศฟิลิปปินส์ นั่นคือพระเยซูองค์ดำหรือ “ชาวเมืองนาซาเรธสีดำ” ประติมากรรมชิ้นนี้มีประวัติว่านำมาจากเม็กซิโกซึ่งเป็นเมืองขึ้นของสเปนเช่นเดียวกัน ประติมากรรมทำจากไม้สีดำซึ่งส่งเสริมความศักดิ์สิทธิ์ของประติมากรรมชิ้นนี้