ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 8 จาก 8 รายการ, 1 หน้า
อาสนวิหารเมืองวีกัน
วีกัน
สถาปัตยกรรมอาสนวิหารเมืองวีกัน

แผงด้านหน้าของอาสนวิหารเมืองวีกันมีลักษณะเป็นแบบคลาสิกกล่าวคือ ตรงกลางประกอบด้วยหน้าบันสามเหลี่ยม pediment รองรับด้วยเสาไอโอนิคในชั้นบนและดอริคในชั้นล่าง ส่วนขื่อที่อยู่ระหว่างชั้นล่างและชั้นบนนั้นแสดงลวดบัวตามระเบียบ entablature แบบคาสิกอย่างชัดเจน ซุ้มโค้งตรงกลางปรากฏรูปเซนต์ปอลขี่ม้า และด้านบนหน้าบันปรากฏสัญลักษณ์ของเซนต์ปอล คือ ดาบและใบปาล์มอันเป็นสัญลักษณ์ของมรณสักขี (martyrdom ) แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นแบบคลาสิก แต่ก็ยังสามารถสังเกตองค์ประกอบเล็กน้อยที่ออกแบบตามแบบบารอกและตามแบบจีนได้ เช่นการประดับถ้วยรางวัล (trophy) และการนำเอาสิงโตหินแบบจีนมาประดับ

หอระฆัง :อาสนวิหารเมืองวีกัน
วีกัน
สถาปัตยกรรมหอระฆัง :อาสนวิหารเมืองวีกัน

หอระฆังของอาสนวิหารเมืองวีกันมีลักษณะเป็นหอระฆังในสกุลช่างวีกัน กล่าวคือ เป็นหอคอยในผังแปดเหลี่ยม ซ้อนกันขึ้นไปหลายชั้น แต่ละชั้นมีองค์ประกอบแบบคลาสิก เช่น อาร์คโค้งและเสาติดผนัง ส่วนด้านบนสุดปรากฏโดม หอคอยแบบแปดเหลี่ยมนี้แตกต่างไปจากสกุลช่าเมืองโลวากที่นิยมหอคอยสี่เหลี่ยมมากกว่า อนึ่ง ในสกุลช่างวีกันและโลวาก หอคอยย่อมตั้งอยู่แยกจากตัวโบสถ์เสมอ เนื่องจากเกรงว่าหอระฆังอาจล้มทับตัวโบสถ์หากเกิดแผ่นดินไหว

ภายใน :อาสนวิหารเมืองวีกัน
วีกัน
สถาปัตยกรรมภายใน :อาสนวิหารเมืองวีกัน

ภายในอาสนวิหาร แห่งเมืองวีกัน แสดงให้เห็นการแบ่งระหว่าง nave กับ aisle อย่างชัดเจนกว่าโบสถ์อื่นๆในพื้นที่เดียวกัน การแบ่งนี้ใช้แถวเสาที่มีอาร์คเชื่อมโยงกันเป็นตัวแบ่ง นอกจากนี้ เพดานของ nave ยังสูงกว่าเพดานของ aisle อย่างชัดเจน ทำให้มีการเจาะหน้าต่างด้านข้าง nave ซึ่งูคล้ายคลึงกับศิลปะยุโรป แต่แตกต่างไปจากโบสถ์แห่งอื่นๆในพื้นที่เดียวกัน เพดานของโบสถ์ก็มีการตกแต่งโดยใช้สัน (rib) ตัดชันกันแต่ละช่วงเสา (bay) ซึ่งลักษณะเช่นนี้ทำให้นึกไปถึงการก่อหลังคาแบบ vault ของโบสถ์ในศิลปะโกธิค ที่ปลายสุดของ nave และ aisle ปรากฏแท่นบูชา ส่วนด้านข้างในแต่ละช่วง bay ก็ปรากฏแท่นบูชาขนาดเล็ก ซึ่งคงทำหน้าที่แทนchapel

แท่นบูชาประธาน :อาสนวิหารเมืองวีกัน
วีกัน
สถาปัตยกรรมแท่นบูชาประธาน :อาสนวิหารเมืองวีกัน

แท่นบูชาประธาน (Main Altar) ของอาสนวิหาร แห่งเมืองวีกัน เป็นแท่นที่อุทิศให้กับพระเยซูประทับบัลลังก์กษัตริย์แห่งสวรรค์(Enthroned Jesus) ด้านข้างยังปรากฏอัครสาวกอีกสององค์ คือเซนต์ปีเตอร์ (St. Peter) ผู้ทรงมงกุฎพระสันตปาปาและถือกุญแจสวรรค์ และเซนต์แอนดรู (St.Andrew) ผู้ผือไม้กางเขนรูปตัว X อันเป็นเครื่องที่ท่านถูกประหารสำหรับรูปแบบแท่นบูชาประธาน (Main Altar) มีการใช้ Cupid ในการตกแต่งและถือพวงมาลัย (garland) นอกจากนี้ การตกแต่งสถาปัตยกรรมด้วยถ้วยรางวัล (trophy) และโดมโค้งเว้า ซึ่งทั้งหมดแสดงการตกแต่งแบบบารอก (Baroque)ด้านบนสุดของแท่นบูชา ปรากฏนกเขาในรัศมีซึ่งแสดงสัญลักษณ์ของพระจิต (Holy Spirit)

โบสถ์ประจำสุสานเมืองวีกัน
วีกัน
สถาปัตยกรรมโบสถ์ประจำสุสานเมืองวีกัน

โบสถ์ประจำสุสาน (Cemetery Chapel )ซึ่งเรียกกันในภาษาพื้นเมืองว่า Simbaan a Bassit ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองวีกัน สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1852 เป็นโบสถ์ขนาดเล็กที่มีแผงด้านหน้าแบบบารอคอย่างชัดเจน โดยแบ่งแผงด้านหน้าออกเป็นห้าส่วนด้วยเสาติดผนัง ด้านบนปรากฏหน้าบันโค้งเว้าตามแบบบารอค ด้านข้างประดับด้วย volute ขนาดใหย่ตามแบบบารอค และปรากฏประตูที่ใช้เป็นประตูเข้าไปสู่สุสาน การที่หน้าบันของ façade ใช้เป็นที่แขวนระฆังด้วยนั้น ถือเป็นรูปแบบที่พบไม่บ่อยนักในศิลปะฟิลิปปินส์ (ส่วนนี้เรียกในภาษาสเปนว่า Espadraña)

ถนนคริสโซโลโก
วีกัน
สถาปัตยกรรมถนนคริสโซโลโก

ถนนคริสโซโลโก ถือเป็นถนนประวัติศาสตร์ของเมืองวีกันที่รักษาสถาปัตยกรรมดั้งเดิมไว้ได้ดีที่สุด ถนนยังคงเป็นถนนปูหินแกรนิตตามแบบโบราณ โดยรอบมีสถาปัตยกรรมสำหรับการพาณิชย์และเป็นที่พักอาศัยไปในตัว โดยด้านล่างมีประตูเปิดออกสู่ถนนสำหรับการค้าขาย ด้านบนมีลักษณะเป็นระเบียงที่มีผนังเปิดโล่งสำหรับรับลม โดยปิดด้วยบานเฟี้ยม อาคารด้านบนนี้คงใช้เป็นที่อยู่อาศัย การมีระเบียบรับลมขนาดใหญ่นั้นคงเกี่ยวข้องกับความเป็นเมืองร้อนชื้นของฟิลิปปินส์

การเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ของแม่พระ
วีกัน
ประติมากรรมการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ของแม่พระ

นอกจากพระเยซูเจ้าแล้ว พระนางมาเรียก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้รับพรจากพระเป็นเจ้าในการยกขึ้นสู่สวรรค์ทั้งเป็น เนื่องจากพระนางเป็นหญิงพรหมจรรย์ผู้เป็นมารดาแห่งพระเยซูเจ้า ทรงปราศจากบาปกำเนิดและทรงยิ่งใหญ่กว่าหญิงทั้งปวง พระนางยังได้รับเกียรติยกขึ้นเป็นราชินีแห่งสวรรค์อีกด้วย การขึ้นสู่สวรรค์ของแม่พระ หรือที่เรียกกันว่า Assumption นั้นไม่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิ้ลแต่เกิดมาจากความเชื่อของคริสตศาสนิกชนนิกายโรมันคาธอลิก

พระตรีเอกภาพ
วีกัน
ประติมากรรมพระตรีเอกภาพ

พระตรีเอกภาพ หมายถึง พระเป็นเจ้าหนึ่งเดียวแต่มีสามพระบุคคล และทรงดำรงอยู่พร้อมกันตั้งแต่ก่อนกาลเวลา ประกอบด้วยพระบิดา พระบุตรและพระจิต ความเชื่อเรื่องพระตรีเอกภาพเกิดจากการวิเคราะห์บริบทต่างๆในพระคัมภีร์และการสังคายนาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในสมัยโบราณมักมีข้อห้ามการสร้างรูปพระบิดา รูปพระตรีเอกภาพส่วนมากจึงถูกสร้างขึ้นในสมัยใหม่