ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพุทธรูปสำริด

คำสำคัญ : พระพุทธรูป, พระพุทธเจ้า, ศิลปะลาว, ประติมากรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติ, ประติมากรรมสำริด

ชื่อเรียกอื่น-
ชื่อหลักหอพระแก้ว
ชื่ออื่น-
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ที่อยู่-
จังหวัด/เมืองเวียงจันทน์
รัฐ/แขวงเวียงจันทน์
ประเทศลาว
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 17.961389
Long : 102.611389

ประวัติการสร้าง-
ลักษณะทางศิลปกรรมในพุทธศตวรรษที่ 22-24 พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างมีลักษณะเด่นหลายประการ เช่น การที่พระพักตร์มีลักษณะแบบพื้นบ้าน เม็ดพระศกเล็กและมีไรพระศก พระเศียรโตแต่พระอังสาแคบ พระวรกายผอมสูง จีวรเรียบไม่มีริ้ว มีชายผ้าหน้างด้านหน้าตามแบบอิทธิพลอยุธยา แต่ชายจีวรมีการกระดกขึ้นซึ่งลักษณะหลังถือเป็นลักษณะเฉพาะของล้านช้าง
สกุลช่างเวียงจันทน์
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะล้านช้าง
อายุพุทธศตวรรษที่ 22-24
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพระพุทธรูปองค์นี้แสดงปางไขว้พระหัตถ์ไว้ที่พระเพลา อันหมายถึงปางถวายเนตรหรือปางจ้องต้นพระศรีมหาโพธิ์ด้วยพระเนตรไม่กระพริบตอลดเจ็ดวัน ในคราวเสวยวิมุตติสุข 7 สัปดาห์ ปางนี้ปรากฏบ่อยๆทั้งในศิลปะล้านาและล้านช้าง
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง-

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-02-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี