ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ฐานของพระพุทธรูปสำริด
คำสำคัญ : พระพุทธรูป, พระพุทธเจ้า, ศิลปะลาว, ประติมากรรมสำริด
ชื่อเรียกอื่น | - |
---|---|
ชื่อหลัก | หอพระแก้ว |
ชื่ออื่น | - |
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ที่อยู่ | - |
จังหวัด/เมือง | เวียงจันทน์ |
รัฐ/แขวง | เวียงจันทน์ |
ประเทศ | ลาว |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 17.961389 Long : 102.611389 |
ประวัติการสร้าง | - |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | ในพุทธศตวรรษที่ 22-24 พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างมักมีฐานที่สูงและมีลวดบัวที่ซับซ้อน โดยฐานมักหล่อเป็นสำริดเช่นเดียวกับ ฐานมักประกอบด้วยฐานสิงห์ซึ่งมีกาบเท้าสิงห์ประกอบไปด้วยวงโค้งต่อเนื่องกันคล้ายศิลปะอยุธยาตอนกลาง ถัดขึ้นมาได้แก่บังคว่ำและท้องไม้ซึ่งคาดลูกแก้วอกไก่ ถัดขึ้นไปคือบัวหงายประกบบัวคว่ำอันเป็นการลดความแข้งกระด้างของหน้ากระดานบนและทำให้ฐานสามารถแสดงการ “งอน” ได้ตามต้องการ การงอนนี้ถือเป็นสุนทรียภาพสำคัญของลวดบัวในศิลปะล้านช้าง |
สกุลช่าง | เวียงจันทน์ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ล้านช้าง |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 22-24 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | - |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | - |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-02-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |