ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระพุทธรูปสำริด
คำสำคัญ : พระพุทธรูป, พระพุทธเจ้า, ประติมากรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติ, ประติมากรรมสำริด
ชื่อเรียกอื่น | - |
---|---|
ชื่อหลัก | หอพระแก้ว |
ชื่ออื่น | - |
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ที่อยู่ | - |
จังหวัด/เมือง | เวียงจันทน์ |
รัฐ/แขวง | เวียงจันทน์ |
ประเทศ | ลาว |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 17.961389 Long : 102.611389 |
ประวัติการสร้าง | - |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | ในพุทธศตวรรษที่ 22-24 พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างมีลักษณะเด่นหลายประการ เช่น การที่พระพักตร์มีลักษณะแบบพื้นบ้าน เม็ดพระศกเล็กและมีไรพระศก พระเศียรโตแต่พระอังสาแคบ พระวรกายผอมสูง จีวรเรียบไม่มีริ้ว มีชายผ้าหน้านางด้านหน้าตามแบบอิทธิพลอยุธยา แต่ชายจีวรมีการกระดกขึ้นซึ่งลักษณะหลังถือเป็นลักษณะเฉพาะของล้านช้าง ที่น่าสนใจก็คือพระพุทธรูปองค์นี้ที่ปลายจีวรมีการขมวดม้วนเป็นลายก้นหอยซึ่งปรากฏเช่นกันกับพระพุทธรูปปูนปั้นประดับเจดีย์บางองค์ในเมืองเวียงจันทน์ |
สกุลช่าง | เวียงจันทน์ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ล้านช้าง |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 22-24 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พระพุทธรูปองค์นี้แสดงปางทิ้งพระหัตถ์ทั้งสองข้างลงด้านล่าง อันหมายถึงปางเปิดโลก เมื่อตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์ มีความเชื่อในพุทธศาสนาเถรวาท ว่าพระพุทธองค์ได้เปิดให้โลกทั้งสาม คือ สวรรค์ มนุษย์และนรกเห็นไปได้ทั่วถึงกันโดยเรียกว่า “ตอนเปิดโลก” ปางเปิดโลกนี้ปรากฏบ่อยๆทั้งในศิลปะล้านาและล้านช้าง |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | - |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-02-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |