ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 97 ถึง 104 จาก 471 รายการ, 59 หน้า
พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์
นครปฐม
สถาปัตยกรรมพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์

พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์เป็นพระตำหนักสองชั้นในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันด้านหน้าซึ่งเป็นด้านยาวไปทางทิศเหนือ ปลายสุดของด้านสกัดตะวันออก – ตะวันตกเป็นระเบียงโค้งครึ่งวงกลม มุมอาคารทั้ง 4 ทำเป็นเสากลมซึ่งมีชั้นบนใหญ่กว่าชั้นล่าง ปลายสุดทำเป็นทรงกรวยสองชั้น บริเวณทางเข้าด้านหน้าทำเป็นเสาคล้ายเสาที่มุมแต่สูงกว่า ยอดด้านหนึ่งทำทรงกรวยสองชั้นแต่แหลมสูงกว่าเสาที่มุม ยอดอีกด้านหนึ่งทำเป็นหลังคาจัตุรมุขมีหลังคาปีกนกรับโดยรอบ ชั้นล่างมีห้องใต้บันได ห้องโถงบันได ห้องโถงปีกตะวันตกและห้องส่งเครื่อง ชั้นบนมีห้องทรงพระอักษร ห้องบรรทมและห้องสรง

วังวรดิศ
กรุงเทพมหานคร
สถาปัตยกรรมวังวรดิศ

พระตำหนักวังวรดิศเป็นคฤหาสน์แบบยุโรป 3 ชั้นหันหน้าไปทางทิศเหนือ ตัวอาคารมีแผนผังเป็นรูปตัว L หลังคาทรงสูงมุงกระเบื้อง มีหน้าต่างระบายอากาศรูปหลังคา มุมอาคารชั้นสองตกแต่งด้วยเสาประดับปูนปั้นรูปคล้ายกลีบบัวซ้อนกัน ประตูและหน้าต่างทรงโค้งตกแต่งขอบบนของหน้าต่างด้วยลายปูนปั้น ภายในชั้นล่างมีห้องรับแขกแบบจีน ห้องเสวย ห้อง Study และห้องโถงบันไดเวียน ชั้นสองมีห้องบรรทม ห้องทรงพระอักษร ห้องทรงงานกลางคืน ห้องแต่งพระองค์และห้องพระบรมอัฐิ ชั้นสามเป็นห้องเก็บของ

วังบางขุนพรหม
กรุงเทพมหานคร
สถาปัตยกรรมวังบางขุนพรหม

ตำหนักใหญ่วังบางขุนพรหมหรือตำหนักทูลกระหม่อมเป็นอาคาร 2 ชั้นในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวอาคารมีลักษณะโค้งเข้าโค้งออกและนูนต่อเนื่อง ใช้หลังคาแบบมันสาร์ดมุงกระเบื้องว่าว ปีกด้านทิศใต้มีหอคอยสี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยม ตกแต่งด้วยเสาหลายชนิดทั้งเสากลม เสาเหลี่ยม เสาแบน เสาบิดเป็นเกลียว หัวเสาตกแต่งด้วยงานปูนปั้น หน้าตามีทั้งหน้าต่างรูปไข่ล้อมด้วยปูนปั้นดอกคัทลียาและหน้าต่างรูปครึ่งวงกลมตกแต่งด้วยลายเครือไม้และผลไม้ ภายในชั้นล่างมีห้องรับแขก 2 ห้อง ห้องเสวยขนาดใหญ่ 2 ห้อง ห้องสมุด และห้องทรงพระอักษร ชั้นบนเป็นห้องบรรทม ห้องแต่งพระองค์ ห้องพระ ห้องสีชมพู ห้องสีน้ำเงินตำหนักสมเด็จเป็นอาคาร 3 ชั้นมีทางเชื่อมกับตำหนักใหญ่ เป็นอาคารคฤหาสน์แบบชนบทของเยอรมนี ภายนอกตกแต่งด้วยลายปูนปั้นอย่างเรียบง่าย ภายในมีการตกแต่งด้วยไม้แกะสลักและกระจกสี นอกจากนี้ภายในวังบางขุนพรหมยังมีตำหนักน้อยใหญ่อีกหลายหลัง เช่น ตำหนักหอ ตำหนักเล็ก ตำหนักน้ำ เรือนกล้วยไม้และกระโจมแตร

พระตำหนักดอยตุง
เชียงราย
สถาปัตยกรรมพระตำหนักดอยตุง

พระตำหนักดอยตุงเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้น ผสมผสานสถาปัตยกรรมล้านนาและชาเลต์ของสวิสส์ ผนังด้านนอกปิดด้วยปีกไม้สักทอง ผนังด้านในบุด้วยไม้สนภูเขา ชั้นบนจะเสมอกับลานกว้างของยอดเนินเขา ชั้นล่างจะลดหลั่นไปตามเนินเขา ชั้นบนแบ่งเป็น 4 ส่วน เป็นท้องพระโรงซึ่งมีชั้นยกใต้หลังคาสำหรับเก็บของ ที่ประทับของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ประทับของสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และที่ประทับของท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงครามเหนือจั่วหลังคาพระตำหนักเป็นกาแลจำหลักลาย เชิงชายแกะลายเมฆไหล ตามขอบหน้าต่างและระเบียงแกะสลักเป็นภาพการดำเนินชีวิตของชาวเหนือเกี่ยวกับช้างและป่าไม้ ภายในห้องประดับด้วยไม้แกะสลักศิลปะพื้นบ้านเป็นรูปดอกไม้ กลุ่มดาวและสัตว์ผนังเชิงบันไดสู่ชั้นล่างแกะเป็นตัวอักษรภาษาไทย ตรงลูกกรงเป็นไม้จำหลักรูปเลขไทย ภายในท้องพระโรงบุฝาผนังด้านหนึ่งด้วยผ้าไหมปักรูปดอกไม้ และประดับภาพสีน้ำมันขนาดใหญ่ เสาบางต้นแขวนผ้าครอสติชเป็นรูปต่างๆ หน้าประตูห้องบรรทมเป็นผ้าตัวอักษรภาษาอังกฤษล้อมด้วยดอกไม้ตามอักษรขึ้นต้น ด้านหลังพระตำหนักเป็นระเบียงยาว บริเวณกระบะสำหรับปลูกดอกไม้แกะสลักภาพโขลงช้างในป่าและช้างทำงาน ด้านหน้าพระตำหนักเป็นสนามหญ้าและสวนดอกไม้ ชั้นล่างเป็นส่วนที่พักและที่ทำการของข้าราชบริพาร บนผนังจารึกบทกวีของสุนทรภู่เรื่องสุนทรภู่ ด้านหน้าสวนหน้าพระตำหนักไปทางด้านที่ประทับมีสวนครัวเล็กๆส่วนพระองค์ ทำแปลงผัก

วัดปรมัยยิกาวาส
นนทบุรี
สถาปัตยกรรมวัดปรมัยยิกาวาส

วัดปรมัยยิกาวาสมีพระอุโบสถเป็นประธาน หน้าบันประดับตราพระบรมราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่ 5 รูปพระจุลมงกุฎ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประธานและพระสาวก จิตรกรรมฝาผนังภายในเขียนเรื่องธุดงควัตรและพุทธประวัติภายหลังการตรัสรู้ ฝีมือของหม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย ด้านหลังพระอุโบสถคือพระมหารามัญเจดีย์ ภายในวัดยังมีวิหารพระพุทธไสยาสน์ซึ่งมีพระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปหินอ่อนและพระนนทมุนินท์ พระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรี เพดานตกแต่งด้วย ศาลารับเสด็จ และพระเจดีย์มุเตา เจดีย์ในศิลปะมอญสีขาวริมน้ำ

วัดราชโอรสาราม
กรุงเทพมหานคร
สถาปัตยกรรมวัดราชโอรสาราม

วัดแห่งนี้แผนผังหันหน้าไปยังคลองบางขุนเทียน มีพระอุโบสถตั้งเป็นประธานอยู่ตรงกลาง ขนาบข้างซ้ายขวาด้วยศาลาการเปรียญหรือพระวิหารพระนั่งและพระวิหารพระยืน ด้านหลังเป็นพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ มีระเบียงคดล้อมรอบวิหารพระนอนซึ่งมีเจดีย์ล้อมรอบ และมีกำแพงแก้วล้อมรอบพระอุโบสถและพระวิหาร มุมกำแพงแก้วด้านหน้าพระอุโบสถมีเจดีย์ทรงปรางค์ทั้ง 2 มุม นอกกำแพงด้านหน้ามีเจดีย์ทรงถะจีน 4 องค์ และวิหารพระสิทธารถ

พระพุทธรัตนสถาน
กรุงเทพมหานคร
สถาปัตยกรรมพระพุทธรัตนสถาน

พระพุทธรัตนสถานเป็นอาคารแบบไทยประเพณีในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าชั้นเดียวยกพื้นสูงตั้งบนฐานไพที ฐานประทักษิณ และฐานบัว ผนังด้านนอกเป็นหินอ่อน ด้านหน้ามีมุขลด รอบอาคารมีเสาพาไล ซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นซุ้มยอดมงกุฎ หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง หน้าบันมีเครื่องลำยอง หน้าบันมุขลดเป็นรูปพระมหามงกุฎประดิษฐานบนพาน 2 ชั้น ขนาบด้วยฉัตร 5 ชั้นซึ่งเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ในรัชกาลที่ 4 หน้าบันหลักทั้งหน้าและหลังเป็นรูปครุฑยุดนาคซึ่งเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ในรัชกาลที่ 2 มีรูปพระวิมานและพระมหามงกุฎประดับอยู่เบื้องล่างซ้ายและขวา มีอาคารประกอบเป็นศาลาโถง 2 หลังซ้ายขวา ด้านหน้ามีหอระฆัง และเสาประทีป 4 ต้น

พระมหาธาตุเจดีย์นภพลภูมิสิริ
เชียงใหม่
สถาปัตยกรรมพระมหาธาตุเจดีย์นภพลภูมิสิริ

เจดีย์เป็นทรงระฆังในผัง 12 เหลี่ยม พื้นผิวเจดีย์ประดับด้วยโมเสกแก้วสีม่วง ผนังด้านนอกตกแต่งด้วยภาพดินเผาเคลือบสีเป็นเรื่องของพระภิกษุณีผู้เป็นเลิศกว่าภิกษุณีทั้งมวล องค์เจดีย์ช่วงล่างมีบัวรัดรอบ แบ่งออกเป็น 4 ชั้น ช่วงบนแบ่งเป็นชั้นเล็กๆอีก 25 ชั้น ก่อนถึงยอดปลีมีฐานรองรับซึ่งแบ่งออกเป็นชั้นเล็กๆอีก 8 ชั้น ยอดปลีด้านบนประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เหนือยอดปลีมีฉัตรโลหะสีเงิน 9 ชั้น องค์เจดีย์มีระเบียง 2 ระดับตกแต่งด้วยภาพดินเผาเคลือบสีน้ำตาลเล่าเรื่องอุบาสิกาที่พระพุทธเจ้าประกาศว่าเป็นเลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายและภาพสวรรค์ 6 ชั้น บริเวณทางเข้าประดิษฐานพระนามาภิไธยย่อ สก. ทั้ง 3 ด้านภายในโถงกลางทรงโดม ผนังตอนล่างตกแต่งด้วยภาพแกะสลักหินแกรนิตสีขาวเล่าเรื่องพระราชกรณียกิจสำคัญของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ผนังตอนบนตกแต่งด้วยโมเสกแก้ว ออกแบบและลงสีด้วยคอมพิวเตอร์เล่าเรื่องพุทธประวัติที่สัมพันธ์กับพระนางสิริมหามายา พระนางปชาบดีโคตมี พระนางยโสธราพิมพา และนางวิสาขา บนเพดานตกแต่งด้วยโมเสกแก้วสีรูปดอกสาละ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึงแกะสลักจากหยกขาว ได้รับพระราชทานนามว่า “พระพุทธสิริกิติทีฆายุมงคล” เจดีย์องค์นี้สร้างโดยผสมผสานข้อธรรมะสำคัญในพุทธศาสนามาเป็นแนวคิดในการออกรายละเอียดต่างๆ ได้แก่1) ทรง 12 เหลี่ยมหมายถึง อัจฉริยธรรม 12 ประการของพระพุทธมารดา2) การแบ่งชั้นเจดีย์น้อยใหญ่รวม 37 ชั้น หมายถึงโพธิปักขิยธรรม 37 ประการการที่เจดีย์องค์นี้เลือกใช้สีม่วงเพื่อให้มีความอ่อนหวานงดงามตามลักษณะความงามของกุลสตรีไทย เจดีย์องค์นี้มีความสูง 55 เมตรซึ่งต่ำกว่าความสูงของพระมหาธาตุเจดีย์นภเมทนีดล มีความหมายถึงพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งอ่อนกว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 5 พรรษา