ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระพุทธรัตนสถาน
คำสำคัญ : พระบรมมหาราชวัง, พระที่นั่ง, วังหลวง, พระพุทธรัตนสถาน
ชื่อเรียกอื่น | พระพุทธนิเวศน์ |
---|---|
ชื่อหลัก | พระบรมมหาราชวัง |
ชื่ออื่น | วังหลวง |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | พระบรมมหาราชวัง |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.749472 Long : 100.492937 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 661412.87 N : 1520519.36 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | สวนศิวาลัย ในพระบรมมหาราชวัง |
ประวัติการสร้าง | พระพุทธรัตนสถานสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัยโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับเป็นพระอุโบสถสำหรับฝ่ายใน สันนิษฐานว่าเดิมตั้งอยู่บนเกาะกลางสระที่เคยเป็นที่ตั้งหอพระ และพระราชทานนามว่า พระพุทธนิเวศน์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปลงเป็นพระอุโบสถ ก่อนจะมีการยุบพัทธสีมาลงในภายหลัง |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | - |
ประวัติการอนุรักษ์ | มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่เพื่อให้คงสภาพเดิมในพ.ศ. 2496 เนื่องจากในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ระเบิดลูกหนึ่งตกลงที่ข้างพระอุโบสถ แม้จะไม่ระเบิดแต่โครงสร้างและส่วนประกอบภายในชำรุดเสียหาย ชายคาและผนังพระอุโบสถด้านเหนือพังทลายลง การบูรณะครั้งนี้อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการจัดวางแผนซ่อมสร้างพระราชฐาน โดยได้ทำการถอดแบบของเดิมและขยายแบบลวดลายต่างๆก่อน จากนั้นจึงทำการบูรณะทั้งฐานพระอุโบสถ เสาลอยโดยรอบ พื้นกระเบื้องหินอ่อน หลังคา ประตูหน้าต่าง ลูกกรงประตูหน้าต่าง ลวดลายต่างๆ และภายในอาคาร |
ขนาด | - |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระพุทธรัตนสถานเป็นอาคารแบบไทยประเพณีในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าชั้นเดียวยกพื้นสูงตั้งบนฐานไพที ฐานประทักษิณ และฐานบัว ผนังด้านนอกเป็นหินอ่อน ด้านหน้ามีมุขลด รอบอาคารมีเสาพาไล ซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นซุ้มยอดมงกุฎ หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง หน้าบันมีเครื่องลำยอง หน้าบันมุขลดเป็นรูปพระมหามงกุฎประดิษฐานบนพาน 2 ชั้น ขนาบด้วยฉัตร 5 ชั้นซึ่งเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ในรัชกาลที่ 4 หน้าบันหลักทั้งหน้าและหลังเป็นรูปครุฑยุดนาคซึ่งเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ในรัชกาลที่ 2 มีรูปพระวิมานและพระมหามงกุฎประดับอยู่เบื้องล่างซ้ายและขวา มีอาคารประกอบเป็นศาลาโถง 2 หลังซ้ายขวา ด้านหน้ามีหอระฆัง และเสาประทีป 4 ต้น |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | พระพุทธรัตนสถานอยู่บริเวณสวนศิวาลัยในพระบรมมหาราชวัง เป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลฝ่ายใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย หรือพระแก้วขาวซึ่งเป็นพระพุทธรูปทำด้วยแก้วผลึกสีขาวที่อัญเชิญมาจากนครจำปาศักดิ์เมื่อครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบไทยประเพณี แต่ใช้หินอ่อนเป็นวัสดุในการก่อสร้างตัวอาคาร หลังคาเครื่องไม้ประดับเครื่องลำยอง มุงกระเบื้องเคลือบสี หน้าบันประดับตราพระบรมราชสัญลักษณ์ของรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 4 |
ข้อสังเกตอื่นๆ | - |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 24-25 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
ตำนานที่เกี่ยวข้อง | - |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | วิหารพระแก้วน้อย พระนครคีรี จ.เพชรบุรี |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2017-05-06 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานตามแนวพระราชดำริ. เล่ม 1. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2548. 9 สถาปัตย์ศิลป์ พระภูมินทร์อัครศิลปินสยาม. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, 2555. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2548. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ : พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2556. |