Arts in Southeast Asia
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ศิลปกรรมยอดนิยม
Most Popular
ศิลปกรรมล่าสุด
Latest
หอคอยมัสยิดกำปงกลิง
อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย
อาณานิคมดัตช์
พุทธศตวรรษที่ 22-23
สถาปัตยกรรม
ประติมากรรมนางจุนทาสำริด
ประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลังประติมากรรมสำริดชิ้นนี้มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก โดยเฉพาะการมีแผ่นหลังกลมและประดับไปด้วยเปลวไฟเป็นระยะๆ ด้านบนประดับฉัตร
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสำริด
ประติมากรรมสำริดขนาดใหญ่ในศิลปะชวาภาคกลาง น่าจะเป็นประติมากรรมสำหรับการเคารพบูชา แตกต่างไปจากประติมากรรมสำริดขนาดเล็กที่อาจเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมากกว่า ประติมากรรมสำริดขนาดใหญ่ได้พบจำนวนหลายองค์ในศิลปะชวา ซึ่งคนพบเช่นกันในศิลปะศรีวิชัย เครื่องแต่งกายของประตากรรมองค์นี้คล้ายคลึงกับศิลปะปาละมาก เช่น มงกุฎสามตาบสร้อยคอคู่ที่มีสร้างคอไข่มุกและสร้อยคอเพชรพลอย เข็มขัดที่มีการห้อยอุบะขนาดใหญ่ด้านหน้าอันมีปลายเป็นรูปใบโพธิ์ เป็นต้น
ประติมากรรมพระพุทธรูปนั่่งห้อยพระบาทสำริด
ประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลัง ประติมากรรมสำริดชิ้นนี้มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก โดยเฉพาะการมีแผ่นหลังกลมและประดับไปด้วยเปลวไฟเป็นระยะๆส่วนรูปแบบจีวรของพระพุทธรูปกลับมีการปะปนกันระหว่างศิลปะหลังคุปตะที่ถ้ำอชันตาและศิลปะปาละ เช่นการห่มเฉียงและมีชายจีวรสั้นเหนือพระถันตามแบบปาละ แต่มีจีวรแหวกระหว่างพระเพลาซึ่งทำให้นึกถึงที่ถ้ำอชันตา
ประติมากรรมพระอมิตาภะสำริด (?)
ประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลัง ประติมากรรมสำริดชิ้นนี้มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก โดยเฉพาะบัลลังก์ซึ่งประกอบไปด้วยคานตั้งคานนอน คานตั้งประดับด้วยวยาลยกขา ส่วนคานนอน ประดับด้วยอามลกะและมกรหันออก ที่แท่นบัลลังก์ปรากฏกลีบบัวขนาดใหญ่รองรับพระพุทธรูปซึ่งเป็นระเบียบปกติของประติมากรรมสำริดที่นาลันทาในอินเดียตะวันออก
ประติมากรรมพระมหาการุณิกะสำริด
ประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลัง
ประติมากรรมพระพุทธรูปประทับยืนสำริด
พระพุทธรูปองค์นี้มีความคล้ายคลึงกับศิลปะอมราวดี-ลังกาอย่างมาก ด้วยเหตุทีมีอุษณีษะต่ำ ประทับยืนแต่ห่มจีวรเฉียงมีขอบจีวรขึ้นมาพาดพระกรซ้าย พระหัตถ์ทั้งสองข้างยกข้นขนานกันในปางวิตรรกะ-กฎกมุทรา อันเป็นปางที่ได้รับความนิยมมากกับพระพุทธรูปลังกา พระพุทธรูปองค์นี้จึงสรุปได้ว่าได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียใต้-ลังกาอย่างมาก อย่างไรก็ดี จีวรของพระพุทธรูปองค์นี้กลายเป็นจีวรเรียบไม่มีริ้วแบบคุปตะและวกาฏกะแล้ว
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรประทับยืนสำริด
ประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลัง ประติมากรรมสำริดชิ้นนี้มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก โดยเฉพาะการมีประภามณฑลประดับไปด้วยเปลวไฟเป็นระยะๆ ด้านบนประดับฉัตร อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ดูแปลกออกไปจากศิลปะปาละก็คือ ฟู่ห้อยที่คลุมพระอังสา และโบหูกระต่ายซึ่งลักษณะหลังนี้เยวข้องกับศิลปะอินเดียใต้มากกว่า
ประติมากรรมนางตาราสำริด
ประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลัง ประติมากรรมสำริดชิ้นนี้มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก โดยเฉพาะการมีแผ่นหลังวงรีและประดับไปด้วยเปลวไฟเป็นระยะๆ ด้านบนประดับฉัตร