ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระอมิตาภะสำริด (?)

คำสำคัญ : ประติมากรรมสำริด

ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ที่อยู่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ
จังหวัด/เมืองจาการ์ตา
รัฐ/แขวงชวา ตะวันตก
ประเทศอินโดนีเซีย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : -6.176944
Long : 106.821944

ประวัติการสร้าง-
ลักษณะทางศิลปกรรมประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลัง ประติมากรรมสำริดชิ้นนี้มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก โดยเฉพาะบัลลังก์ซึ่งประกอบไปด้วยคานตั้งคานนอน คานตั้งประดับด้วยวยาลยกขา ส่วนคานนอน ประดับด้วยอามลกะและมกรหันออก ที่แท่นบัลลังก์ปรากฏกลีบบัวขนาดใหญ่รองรับพระพุทธรูปซึ่งเป็นระเบียบปกติของประติมากรรมสำริดที่นาลันทาในอินเดียตะวันออก
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง
อายุพุทธศตวรรษที่ 13-15
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายมหายาน
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพระอมิตาภะเป็นพระธยานิพุทธเจ้าประจำทิศตะวันตก และประจำกัปที่สี่อันเป็นกัปปัจจุบัน มีพุทธเกษตรชื่อสุขาวดีและมีพระโพธิสัตว์ประจำพระองค์คือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
งานศิลปะที่เกี่ยวข้องพระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งในท่าขัดสมาธิเพชร (วัชราสนะ) แสดงธยานมุทรา (ปางสมาธิ) ซึ่งเป้นท่านั่งและมุทราประจำสำหรับพระธยานิพุทธอมิตาภะ อย่าไรก็ตาม ยังไม่แน่ชัดว่าพระพุทธรูปองค์นี้จะหมายถึงพระอมิตาภะหรือพระศรีศากยมุนีแสดงปางสมาธิกันแ

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-07-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี