ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพุทธรูปนั่่งห้อยพระบาทสำริด

คำสำคัญ :

ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ที่อยู่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ
ประเทศอินโดนีเซีย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 6.176944
Long : 110.821944

ประวัติการสร้าง-
ลักษณะทางศิลปกรรมประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลัง ประติมากรรมสำริดชิ้นนี้มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก โดยเฉพาะการมีแผ่นหลังกลมและประดับไปด้วยเปลวไฟเป็นระยะๆส่วนรูปแบบจีวรของพระพุทธรูปกลับมีการปะปนกันระหว่างศิลปะหลังคุปตะที่ถ้ำอชันตาและศิลปะปาละ เช่นการห่มเฉียงและมีชายจีวรสั้นเหนือพระถันตามแบบปาละ แต่มีจีวรแหวกระหว่างพระเพลาซึ่งทำให้นึกถึงที่ถ้ำอชันตา
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง
อายุพุทธศตวรรษที่ 13-15
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายมหายาน

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-07-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี