ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นางจุนทาสำริด
คำสำคัญ : ประติมากรรมสำริด
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
---|---|
ที่อยู่ | พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ |
จังหวัด/เมือง | จาการ์ตา |
รัฐ/แขวง | ชวา ตะวันตก |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : -6.176944 Long : 106.821944 |
ประวัติการสร้าง | - |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | ประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลังประติมากรรมสำริดชิ้นนี้มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก โดยเฉพาะการมีแผ่นหลังกลมและประดับไปด้วยเปลวไฟเป็นระยะๆ ด้านบนประดับฉัตร |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ชวาภาคกลางตอนกลาง |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 13-15 |
ศาสนา | พุทธ |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | นางจุนทาเป็นพระโพธิสัตว์เพศหญิงในพุทธศาสนามหายาน เป็นเทวีที่กลายมาจากธารณีมนตร์ ด้วยเหตุนี้เทวีดังกล่าวจึงเกี่ยวข้องกับการทำสมาธิและทำให้พระนางมักแสดงธยานมุทราในพระหัตถ์คู่หน้า |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | ในศิลปะชวาภาคกลาง ประติมากรรมนางจุนทาทั้งหมด ล้วนแต่นั่งขัดสมาธิและพระหัตถ์คู่หน้าทั้งสองประสานกันที่พระเพลาคล้ายธยานมุทราซึ่งถือเป็นมุทราเฉพาะของพระโพธิสัตว์องค์นี้ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-07-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |