ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรประทับยืนสำริด

คำสำคัญ : อวโลกิเตศวร, ประติมากรรมสำริด

ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ที่อยู่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ
จังหวัด/เมืองจาการ์ตา
รัฐ/แขวงชวา ตะวันตก
ประเทศอินโดนีเซีย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : -6.176944
Long : 106.821944

ประวัติการสร้าง-
ลักษณะทางศิลปกรรมประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลัง ประติมากรรมสำริดชิ้นนี้มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก โดยเฉพาะการมีประภามณฑลประดับไปด้วยเปลวไฟเป็นระยะๆ ด้านบนประดับฉัตร อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ดูแปลกออกไปจากศิลปะปาละก็คือ ฟู่ห้อยที่คลุมพระอังสา และโบหูกระต่ายซึ่งลักษณะหลังนี้เยวข้องกับศิลปะอินเดียใต้มากกว่า
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง
อายุพุทธศตวรรษที่ 13-15
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายมหายาน
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเป็นพระโพธิสัตว์แห่งความกรุณา เป็นพระโพธิสัตว์ประจำกัปปัจจุบันจึงได้รับความเคารพอย่างมาก
งานศิลปะที่เกี่ยวข้องประติมากรรมองค์นี้มีพระอมิตาภะอันเป็นพระธยานิพุทธประจำพระองค์ประทับอยู่บนมวยผม อันเป็นประติมานวิทยาสำคัญของพระโพธิสัตว์องค์นี้ ส่วนพระหัตถ์ทั้งสองข้างแสดงปางวิตรรกะ-กฎกมุทรา ซึ่งดูคล้ายกับศิลปะลังกามากกว่า

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-07-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี