Arts in Southeast Asia
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ศิลปกรรมยอดนิยม
Most Popular
ศิลปกรรมล่าสุด
Latest
หอคอยมัสยิดกำปงกลิง
อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย
อาณานิคมดัตช์
พุทธศตวรรษที่ 22-23
สถาปัตยกรรม
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่อง “ปาณฑพเล่นสกากับเการพ”
ภาพเล่าเรื่องในศิลปะชวาภาคตะวันออก ประติมากรรมบุคคลค่อนข้างแบนคล้ายคลึงหนังตะลุงชวา หันข้างเพียงอย่างเดียว ไม่มีการหันหน้าตรง มีการแต่งตัวด้วยศิราภรณ์แบบพื้นเมืองแตกต่างไปจากแบบอินเดีย ที่ว่างโดยรอบถมด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษาและลายเมฆ อาคารเองก็เป็นอาคารเครื่องไม้มุงกรเบื้องตามอย่างอาคารแบบพื้นเมือง ความเป็นพื้นเมืองทั้งหมดนี้แสดงลักษณะเฉพาะของ “ศิลปะชวาภาคตะวันออก”
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่อง “เปลื้องผ้านางเทราปตี”
ภาพเล่าเรื่องในศิลปะชวาภาคตะวันออก ประติมากรรมบุคคลค่อนข้างแบนคล้ายคลึงหนังตะลุงชวา หันข้างเพียงอย่างเดียว ไม่มีการหันหน้าตรง มีการแต่งตัวด้วยศิราภรณ์แบบพื้นเมืองแตกต่างไปจากแบบอินเดีย ที่ว่างโดยรอบถมด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษาและลายเมฆ อาคารเองก็เป็นอาคารเครื่องไม้มุงกรเบื้องตามอย่างอาคารแบบพื้นเมือง ความเป็นพื้นเมืองทั้งหมดนี้แสดงลักษณะเฉพาะของ “ศิลปะชวาภาคตะวันออก”
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่อง “อรชุนบำเพ็ญตบะ”
ภาพเล่าเรื่องในศิลปะชวาภาคตะวันออก ประติมากรรมบุคคลค่อนข้างแบนคล้ายคลึงหนังตะลุงชวา หันข้างเพียงอย่างเดียว ไม่มีการหันหน้าตรง มีการแต่งตัวด้วยศิราภรณ์แบบพื้นเมืองแตกต่างไปจากแบบอินเดีย ที่ว่างโดยรอบถมด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษาและลายเมฆ อาคารเองก็เป็นอาคารเครื่องไม้มุงกรเบื้องตามอย่างอาคารแบบพื้นเมือง ความเป็นพื้นเมืองทั้งหมดนี้แสดงลักษณะเฉพาะของ “ศิลปะชวาภาคตะวันออก”
ประติมากรรมหน้ากาลแบบชวาภาคตะวันออก
หน้ากาลในศิลปะชวาภาคตะวันออกมีความดุร้ายกว่าหน้ากาลชวาภาคกลางมาก มีตาถลนโปน ปากมีเขี้ยวทั้งปากบนและปากล่าง มีเขาและมีกะโหลก รวมถึงมีมือทั้งสองที่ยกขึ้นแสดงท่าขู่ “ดรรชนีมุทรา” อนึ่ง การที่หน้ากาลมีทั้งริมฝีปากบนและริมฝีปากล่างนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า คติแบบอินเดียที่หน้ากาลไม่มีปากล่างได้สูญหายไปแล้ว
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อโมฆบาศ
ประติมากรรมชิ้นนี้มีลักษณะตามอย่างศิลปะขวาภาคตะวันออกโดยทั่วไป กล่าวคือ เครื่องแต่งกายประกอบด้วยสร้อยไข่มุกและพู่ไข่มุกจำนวนมาก ที่แผ่นหลัง ที่แผ่นหลังยังปรากฏดอกบัวและใบบัวจำนวนมากซึ่งเป้นลักษณะเฉพาะของศิลปะในสมัยนี้เช่นกัน
ประติมากรรมรามายณะตอนจองถนน
ลานประธาน เป็นที่ตั้งของฐานเป็นชั้นสำหรับจันทิประธาน ฐานเป็นชั้นนี้คงมีความหมายเกี่ยวพันกับเขาพระสุเมรุอันเป็นเขาแกนกลางจักรวาลและเป็นที่ประทับของพระศิวะ อย่างไรก็ตาม อาคารด้านบนฐานดังกล่าวไม่หลงเหลืออยู่แล้วจนถึงปัจจุบัน และอาจเป็นไปได้ที่อาคารหลังนี้อาจเคยเป็นทรง “เมรุ” หรืออาคารหลังคาลาดซ้อนชั้นตามแบบที่ปรากฏในศิลปะบาหลีในปัจจุบัน ฐานชั้นที่หนึ่ง สลักภาพเล่าเรื่องรามายณะ ภาพเล่าเรื่องตอนนี้มีลักษณะคล้ายหนังตะลุงชวา (วาหยัง) มาก
ประติมากรรมรามายณะตอนพระราม พระลักษมณีและกองทัพลิง
ลานประธาน เป็นที่ตั้งของฐานเป็นชั้นสำหรับจันทิประธาน ฐานเป็นชั้นนี้คงมีความหมายเกี่ยวพันกับเขาพระสุเมรุอันเป็นเขาแกนกลางจักรวาลและเป็นที่ประทับของพระศิวะ อย่างไรก็ตาม อาคารด้านบนฐานดังกล่าวไม่หลงเหลืออยู่แล้วจนถึงปัจจุบัน และอาจเป็นไปได้ที่อาคารหลังนี้อาจเคยเป็นทรง “เมรุ” หรืออาคารหลังคาลาดซ้อนชั้นตามแบบที่ปรากฏในศิลปะบาหลีในปัจจุบัน ฐานชั้นที่หนึ่ง สลักภาพเล่าเรื่องรามายณะ ภาพเล่าเรื่องตอนนี้มีลักษณะคล้ายหนังตะลุงชวา (วาหยัง) มาก
ประติมากรรมแม่มดรังดา
ปุระดาเล็ม (Pura Dalem) คือวัดที่สร้างขึ้นอุทิศให้กับคนตาย เป็นหนึ่งในสามปุระของหมู่บ้าน โดยปุระอื่นๆได้แก่ ปุระเทศะ(Pura Desa) หรือวัดประจำหมู่บ้าน และ “ปุระปูเซห์” (Pura Puseh) หรือวัดที่อุทิศให้กับบรรพบุรุษผู้ดูแลหมู่บ้านปุระดาเล็มมักตั้งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน เป็นทิศที่ไปทางทะเลอันเป็นอัปมงคล แตกต่างไปจากปุระเทศะซึ่งมักตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน และปุระปูเซห์ อันตั้งอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านซึ่งเป็นทิศมงคลนอกจากนี้ ปุระดาเล็มมักตั้งอยู่ภายในป่าชุมชน อันเป็นป่าที่อุทิศให้กับคนตาย ป่านี้เป็นที่อยู่ของลิงซึ่งมักเรียกกันในสมัยปัจจุบันว่า ป่าลิง (Monkey Forest) ตัวอย่างที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ปุระดาเล็มแห่งเมืองอุบุด (Ubud)