ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ภาพเล่าเรื่อง “อรชุนบำเพ็ญตบะ”

คำสำคัญ : จันทิ, จันทิจาโก, มหาภารตะ, ปาณฑพ, อรชุน

ชื่อหลักจันทิจาโก
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ที่อยู่-
จังหวัด/เมืองตุมปัง
รัฐ/แขวงชวา ตะวันออก
ประเทศอินโดนีเซีย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : -8.005278
Long : 112.7575

ประวัติการสร้าง-
ลักษณะทางศิลปกรรมภาพเล่าเรื่องในศิลปะชวาภาคตะวันออก ประติมากรรมบุคคลค่อนข้างแบนคล้ายคลึงหนังตะลุงชวา หันข้างเพียงอย่างเดียว ไม่มีการหันหน้าตรง มีการแต่งตัวด้วยศิราภรณ์แบบพื้นเมืองแตกต่างไปจากแบบอินเดีย ที่ว่างโดยรอบถมด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษาและลายเมฆ อาคารเองก็เป็นอาคารเครื่องไม้มุงกรเบื้องตามอย่างอาคารแบบพื้นเมือง ความเป็นพื้นเมืองทั้งหมดนี้แสดงลักษณะเฉพาะของ “ศิลปะชวาภาคตะวันออก”
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะชวาภาคตะวันออก
อายุพุทธศตวรรษที่ 16-20
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องเมื่ออรชุน หนึ่งในพี่น้องปาณฑพต้องเดินป่าภายหลังจากการเสียเมืองให้กับฝ่ายเการพ อรชุนจึงคิดที่จะบำเพ็ญตบะเพื่อขออาวุธวิเศษจากพระศิวะ อรชุนได้เดินทางไปหาฤๅษี หลังจากนั้นจึงยืนขาเดียวเพื่อบำเพ็ญตบะถวายแด่พระศิวะ ท้ายสุด พระองค์พอพระทัยและได้เสด็จลงมาประทานอาวุธวิเศษให้กับอรชุน
งานศิลปะที่เกี่ยวข้องภาพสลักนี้ แบ่งออกได้เป็น 2 ตอน คือ อรชุนพบฤๅษีทางด้านขวามือของผู้ชม และอรชุนบำเพ็ญตบะโดยการยืนขาเดียวทางด้านซ้ายของผู้ชม น่าสังเกตว่าอรชุนมักติดตามด้วย “ตัวตลก” ตามธรรมเนียวของหนังตะลุงชวา

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-07-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี