ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมกุหนุงกาวี
จันทิกุหนุงกาวี มีลักษณะเป็นหน้าผาริมแม่น้ำ โดยมีการสลักจันทิติดผนังจำนวน 9 หลัง ถือเป็นตัวอย่างจันทิสลักหินติดกับเพิงผาธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในเกาะบาหลี นอกจากนี้ยังถือเป็นตัวอย่างจันทิในศิลปะชวาภาคตะวันออกที่ปรากฏในเกาะบาหลีอีกด้วย เนื่องจากชั้นหลังคาประดับไปด้วยสถูปิกะ/อาคารจำลองซึ่งไม่ปรากฏแล้วในศิลปะบาหลี อนึ่ง ที่ตั้งของกลุ่มจันทิดังกล่าว ย่อมทำให้แม่น้ำที่ไหลผ่านศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย
ประติมากรรมภฤกุฎี
ในระยะต้นของศิลปะชวาภาคตะวันออก ประติมากรรมยังคล้ายคลึงกับประติมากรรมในศิลปะชาภาคกลาง อย่างไรก็ตาม ที่แผ่นหลังเริ่มประดับด้วย “ใบบัว” ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของสมัยนี้ นอกจากนี้ ประติมากรรมยังถูกตกแต่งด้วยสร้อยเพชรพลอยและอุบะไข่มุกมากขึ้น
ประติมากรรมพระมัญชุศรี
ลักษณะสำคัญของประติมากรรมชวาภาคตะวันออก คือ ที่แผ่นหลังประดับด้วย “ใบบัว”จำนวนมาก ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของสมัยนี้ สำหรับประติมากรรมชิ้นนี้ยังมีเครื่องประดับน้อยเมื่อเทียบกับประติมากรรมในสมัยชวาภาคตะวันออกชิ้นอื่นๆ จึงดูมีความใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคกลางมากและอาจเป็นไปได้ที่จะมีอายุในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรพร้อมด้วยบริวาร
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรองค์นี้ มีเครื่องแต่งกายและประภามณฑลที่มีแนวโน้มไปสู่ศิลปะ ชวาภาคตะวันออกแล้ว และยังมีแผ่นหลังที่ประดับด้วยดอกบัวและใบบัวอันเป็นลักษณะสำคัญของศิลปะสมัยนี้ นอกจากนี้ ระเบียบที่จัดพระโพธิสัตว์พร้อมด้วยบริวารทั้งสี่องค์อยู่บนแผ่นหลังเดียวกันก็เป็นลักษณะที่นิยมในระยะนี้อีกด้วย
ประติมากรรมพระหริหระ
ลักษณะสำคัญของประติมากรรมชวาภาคตะวันออก คือ ที่แผ่นหลังประดับด้วย “ใบบัว”จำนวนมาก ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของสมัยนี้ นอกจากนี้ ประติมากรรมยังถูกตกแต่งด้วยสร้อยเพชรพลอยและอุบะจนเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นที่ตาบ กรรเจียกเพชรพลอย สร้อยยัชโญปวีตไข่มุกที่มีอุบะห้อยจนเต็ม รวมถึงเข็มขัดที่ประดับด้วยไข่มุกและอุบะห้อยจนเต็มที่เช่นกัน
ประติมากรรมพระวิษณุทรงครุฑจากสระน้ำเบลาหัน
รูปแบบครุฑที่มีปากที่ยื่นยาว แสดงการแสยะเขี้ยวอย่างดุร้าย หันไปด้านข้างและแสดงความเคลื่อนไหวอย่างไม่สมมาตร ทั้งหมดนี้ล้วนแต่แสดงความเป็น “ชวาตะวันออก”
ประติมากรรมพระลักษมีที่สระน้ำเบลาหัน
รูปแบบของเครื่องแต่งกายพระเทวี ประกอบด้วยลวดลายขมวดม้วนและเครื่องเพชรพลอยจำนวนมาก รวมถึงลายกนกที่ประดับแผ่นหลัง ทั้งหมดนี้ล้วนแต่แสดงความเป็น “ชวาตะวันออก”
ประติมากรรมครุฑตกเป็นทาสของนาค
จันทิกิดาล เป็นสถานที่ฝังพระอัฐิของพระเจ้าอนุษบดีแห่งราชวงศ์สิงหาส่าหรี พระเจ้าอนุษบดีสวรรคตใน พ.ศ.1791 เนื่องจากการสวรรคตกับพิธีศราทธ์ที่อุทิศเทวาลัยน้ำต้องห่างกัน 12 ปีเสมอ เทวาลัยหลังนี้จึงควรสร้างเสร็จใน พ.ศ. 1803จันทิแห่งนี้มีภาพเล่าเรื่องพญาครุฑขโมยน้ำอมฤตเพื่อมาช่วยพระมารดา น้ำอมฤตเป็นน้ำแห่งความเป็นอมตะ ด้วยเหตุนี้ จึงสัมพันธ์กับคติเทวาราชา คือช่วยให้ผู้ตายได้รับชีวิตอมตะ