ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ครุฑตกเป็นทาสของนาค

คำสำคัญ :

ชื่อหลักจันทิกิดาล
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ที่อยู่กิดาล
จังหวัด/เมืองมาลัง
รัฐ/แขวงชวา ตะวันออก
ประเทศอินโดนีเซีย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : -8.025556
Long : 112.708333

ประวัติการสร้าง

จันทิกิดาล เป็นสถานที่ฝังพระอัฐิของพระเจ้าอนุษบดีแห่งราชวงศ์สิงหาส่าหรี พระเจ้าอนุษบดีสวรรคตใน พ.ศ.1791 เนื่องจากการสวรรคตกับพิธีศราทธ์ที่อุทิศเทวาลัยน้ำต้องห่างกัน 12 ปีเสมอ เทวาลัยหลังนี้จึงควรสร้างเสร็จใน พ.ศ. 1803

จันทิแห่งนี้มีภาพเล่าเรื่องพญาครุฑขโมยน้ำอมฤตเพื่อมาช่วยพระมารดา น้ำอมฤตเป็นน้ำแห่งความเป็นอมตะ ด้วยเหตุนี้ จึงสัมพันธ์กับคติเทวาราชา คือช่วยให้ผู้ตายได้รับชีวิตอมตะ

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะชวาภาคตะวันออก
อายุพุทธศตวรรษที่ 16-20
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ลัทธิ/นิกายไศวนิกาย, ลัทธิเทวราชา
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง

ครั้งหนึ่ง นางกทรุซึ่งเป็นมารดาของนาคทั้งหลายเกิดอิจฉานางวินตาอันเป็นมารดาของครุฑ จึงพนันกับนางว่าม้าอุจไฉศรวะซึ่งจะเกิดจากการกวนเกษียรสมุทรนั้นจะเป็นสีอะไร โดยเงื่อนไขก็คือถ้าใครแพ้จะต้องตกเป็นทาสของอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อม้าอุจไฉศรวะกำนิดขึ้นเป็นสีขาว นางกทรุจึงใช้ให้นาคไปพ่นพิษเพื่อให้ม้ากลายเป็นสีดำและตนจะได้ชนะ ด้วยเหตุนี้ นางวินตาและครุฑจึงตกเป็นทาสของนางกทรุและเหล่านาค

เพื่อช่วยเหลือแม่ของตน ครุฑจึงอาสาไปขโมยน้ำอมฤตเพื่อช่วยให้แม่ของตนได้รับการปลดปล่อย ครุฑจึงได้ไปยังมณฑลพิธีการกวนเกษียรสมุทรและขโมยน้ำ ทำให้เกิดการรบกันระหว่างพระวิษณุกับครุฑ ท้ายสุดพระวิษณุได้อวยพรครุฑให้ไม่ตาย อวยพรให้นางวินตาหลุดพ้นจากการเป็นทาสและให้พรครุฑว่าสามารถจับกินนาคได้ทุกเมื่อ ส่วนครุฑนั้นได้ยอมเป็นพาหนะของพระวิษณุ

ในภาพสลักนี้เป็นรูปของครุฑที่กำลังตกเป็นทาสของเหล่านาค

งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

ฐานไพทีเตี้ยๆประดับเรื่องพญาครุฑ โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ พญาครุฑกำลังแบกมารดาของนาค ครุฑกำลังแบกเหล่านาค และพญาครุฑแบกน้ำอมฤต การสลักเรื่องพญาครุฑนี้มีความเขชื่อว่าเป็นการปลดปล่อยวิญญาณผู้ตายให้ได้รับโมกษะ (การหลุดพ้นจากสังสารวัฏ) เนื่องจากน้ำอมฤต เป็นสัญลักษณ์ของความไม่ตาย

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-07-01
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี