ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

กุหนุงกาวี

คำสำคัญ : จันทิ, กุหนุงกาวี, พระเจ้าไอร์ลังคะ

ชื่อหลักกุหนุงกาวี
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ที่อยู่-
จังหวัด/เมืองเกียญาร์
รัฐ/แขวงบาหลี
ประเทศอินโดนีเซีย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : -7.9549905
Long : 112.465

ประวัติการสร้างเกาะบาหลีมีประวัติมาตั้งแต่ราชวงศ์ของพระเจ้าไอร์ลังคะ ซึ่งมีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ที่เกาะนี้ ก่อนที่ต่อมาจะย้ายไปยังเกาะชวาตะวันออก ซึ่งสอดรับกับกุหนุงกาวีซึ่งมีจันทิที่แสดงรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะชวาภาคตะวันออก
ลักษณะทางศิลปกรรมจันทิกุหนุงกาวี มีลักษณะเป็นหน้าผาริมแม่น้ำ โดยมีการสลักจันทิติดผนังจำนวน 9 หลัง ถือเป็นตัวอย่างจันทิสลักหินติดกับเพิงผาธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในเกาะบาหลี นอกจากนี้ยังถือเป็นตัวอย่างจันทิในศิลปะชวาภาคตะวันออกที่ปรากฏในเกาะบาหลีอีกด้วย เนื่องจากชั้นหลังคาประดับไปด้วยสถูปิกะ/อาคารจำลองซึ่งไม่ปรากฏแล้วในศิลปะบาหลี อนึ่ง ที่ตั้งของกลุ่มจันทิดังกล่าว ย่อมทำให้แม่น้ำที่ไหลผ่านศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะชวาภาคตะวันออก
อายุพุทธศตวรรษที่ 16-20
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ลัทธิ/นิกายลัทธิเทวราชา
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องศาสนาฮินดู ผสมกับลัทธิเทวราชา จันทิเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกษัตริย์และพระราชินีที่สวรรคตไปแล้ว จันทิเหล่านี้จึงเสมือนที่ประทับดวงพระวิญญาณ เพื่อการกระทำพิธีศราทธ์อุทิศให้กับดวงพระวิญญาณกษัตริย์ ลัทธิเทวราชานั้นปรากฏอย่างเด่นชันในสมัยชวาภาคตะวันออก ก่อนที่จะปรากฏต่อมาในสมัยบาหลีด้วย

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-02-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี