ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระวิษณุทรงครุฑจากสระน้ำเบลาหัน
คำสำคัญ : พระวิษณุ, พระเจ้าไอร์ลังคะ, ครุฑ, เบลาหัน
ชื่อหลัก | สระน้ำเบลาหัน |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ที่อยู่ | พิิพิธภัณฑ์โตรวูลัน |
จังหวัด/เมือง | โมโจเกอร์โต |
รัฐ/แขวง | ชวา ตะวันออก |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : -7.553333 Long : 112.387222 |
ประวัติการสร้าง | สระน้ำเบลาหัน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาเปนังกุหงันซึ่งเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ในสมัยชวาภาคตะวันออก สระน้ำนี้เชื่อว่าเป็นที่ฝังพระอัฐิของพระเจ้าไอร์ลังคะ (Ailangga) การสร้างสระน้ำเพื่อฝังพระอัฐิถือเป็นลักษณะพิเศษในสมัยชวาภาคตะวันออกโดยพระราชบิดาของพระเจ้าไอร์ลังคะก็สร้างสระน้ำเพื่อฝังพระอัฐิเช่นกัน สระน้ำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รับน้ำมาจากลำธารเล็กๆ ผนังสระตัดเข้าไปในภูเขาแล้วก่อเขื่อนด้วยอิฐ แล้วกำหนดให้น้ำจากลำธารนั้นไหลผ่านประติมากรรมที่อยู่ในซุ้มจระนำที่เขื่อนอิฐดังกล่าว เขื่อนอิฐมีซุ้มจระนำ 3 ซุ้ม ซุ้มกลางประดิษฐานพระวิษณุทรงครุฑ (ซึ่งปัจจุบันถูกย้ายไปยังพิพิธภัณฑ์โตรวุลันแล้ว) อีกสองซุ้มปรากฏประติมากรรมพระลักษมีและพระศรี ทั้งสององค์เป็นชายาพระวิษณุ เป็นเทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์และความโชคดี |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | รูปแบบครุฑที่มีปากที่ยื่นยาว แสดงการแสยะเขี้ยวอย่างดุร้าย หันไปด้านข้างและแสดงความเคลื่อนไหวอย่างไม่สมมาตร ทั้งหมดนี้ล้วนแต่แสดงความเป็น “ชวาตะวันออก” |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ชวาภาคตะวันออก |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 16-20 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
ลัทธิ/นิกาย | ไวษณพนิกาย |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | การนำเอาพระอัฐิมาฝังไว้กับประติมากรรมเทพเจ้า เป็นประเพณีตามลัทธิเทวราชาที่เชื่อว่า กษัตริย์เป็นอวตารของเทพเจ้า เมื่อกษัตริย์สวรรคตลงย่อมกลับเข้าไปรวมกับเทพเจ้า ซึ่งพระเจ้าไอร์ลังคะก็คงจะทรงนับถือพระวิษณุเป็นพระเจ้าสูงสุด ด้วยเหตุนี้ ประติมากรรมพระวิษณุคงหมายถึงพระเจ้าไอร์ลังคะ ครุฑหมายถึงเสนาบดีของพระองค์ ส่วนพระลักษมีและพระศรีนั้นคงหมายถึงพระมเหสีทั้งสองของพระเจ้าไอร์ลังคะนั่นเอง |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | พระวิษณุ ทรงประทับอย่างสงบซึ่งขัดแย้งกับอย่างมากกับรูปครุฑที่ดูดุร้ายอยู่ด้านล่าง พระวิษณุทรงประสานพระหัตถ์ในท่าทำสมาธิซึ่งเป็นมุทราที่พบเสมอสำหรับประติมากรรมฉลองพระองค์ในศิลปะชวา อีกสองกรถือจักรและสังข์ซึ่งมีไฟลุกส่วนครุฑด้านล่างนั้นแสดงความดุร้ายด้วยการแสยะปาก สยายปีกและใช้อุ้งเท้าจับนาคด้านล่าง |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-07-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |