ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระหริหระ

คำสำคัญ : พระวิษณุ, พระศิวะ

ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ที่อยู่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ
จังหวัด/เมืองจาการ์ตา
รัฐ/แขวงชวา ตะวันตก
ประเทศอินโดนีเซีย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : -6.176944
Long : 106.821944

ประวัติการสร้าง-
ลักษณะทางศิลปกรรมลักษณะสำคัญของประติมากรรมชวาภาคตะวันออก คือ ที่แผ่นหลังประดับด้วย “ใบบัว”จำนวนมาก ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของสมัยนี้ นอกจากนี้ ประติมากรรมยังถูกตกแต่งด้วยสร้อยเพชรพลอยและอุบะจนเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นที่ตาบ กรรเจียกเพชรพลอย สร้อยยัชโญปวีตไข่มุกที่มีอุบะห้อยจนเต็ม รวมถึงเข็มขัดที่ประดับด้วยไข่มุกและอุบะห้อยจนเต็มที่เช่นกัน
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะชวาภาคตะวันออก
อายุพุทธศตวรรษที่ 16-20
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องในสมัยชวาภาคตะวันออก ศาสนาฮินดูทุกนิกายและศาสนาพุทธได้รวมกันเป็นหนึ่งเดียว จึงทำให้พระศิวะ พระวิษณุและพระพุทธเจ้ารวมถึงพระโพธิสัตว์สามารถปรากฏกายในเทวาลัยหลังเดียวกันได้ กระบวนการดังกล่าวยังทำให้เกิดความนิยมพระหริหระขึ้นในระยะนี้ด้วย
งานศิลปะที่เกี่ยวข้องลักษณะทางประติมานวิทยาของพระหริหระในสมัยชวาภาคตะวันออก คือ มีสี่กร โดยส่วนมากถือของถือตามอย่างพระวิษณุ เช่น จักร สังข์ คทา แต่พระหัตถ์หนึ่งกลับถือลูกประคำตามแบบพระศิวะ

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-07-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี