ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 5 จาก 5 รายการ, 1 หน้า
ภาพเล่าเรื่อง “ปาณฑพเล่นสกากับเการพ”
ตุมปัง
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่อง “ปาณฑพเล่นสกากับเการพ”

ภาพเล่าเรื่องในศิลปะชวาภาคตะวันออก ประติมากรรมบุคคลค่อนข้างแบนคล้ายคลึงหนังตะลุงชวา หันข้างเพียงอย่างเดียว ไม่มีการหันหน้าตรง มีการแต่งตัวด้วยศิราภรณ์แบบพื้นเมืองแตกต่างไปจากแบบอินเดีย ที่ว่างโดยรอบถมด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษาและลายเมฆ อาคารเองก็เป็นอาคารเครื่องไม้มุงกรเบื้องตามอย่างอาคารแบบพื้นเมือง ความเป็นพื้นเมืองทั้งหมดนี้แสดงลักษณะเฉพาะของ “ศิลปะชวาภาคตะวันออก”

ภาพเล่าเรื่อง “เปลื้องผ้านางเทราปตี”
ตุมปัง
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่อง “เปลื้องผ้านางเทราปตี”

ภาพเล่าเรื่องในศิลปะชวาภาคตะวันออก ประติมากรรมบุคคลค่อนข้างแบนคล้ายคลึงหนังตะลุงชวา หันข้างเพียงอย่างเดียว ไม่มีการหันหน้าตรง มีการแต่งตัวด้วยศิราภรณ์แบบพื้นเมืองแตกต่างไปจากแบบอินเดีย ที่ว่างโดยรอบถมด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษาและลายเมฆ อาคารเองก็เป็นอาคารเครื่องไม้มุงกรเบื้องตามอย่างอาคารแบบพื้นเมือง ความเป็นพื้นเมืองทั้งหมดนี้แสดงลักษณะเฉพาะของ “ศิลปะชวาภาคตะวันออก”

ภาพเล่าเรื่อง “อรชุนบำเพ็ญตบะ”
ตุมปัง
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่อง “อรชุนบำเพ็ญตบะ”

ภาพเล่าเรื่องในศิลปะชวาภาคตะวันออก ประติมากรรมบุคคลค่อนข้างแบนคล้ายคลึงหนังตะลุงชวา หันข้างเพียงอย่างเดียว ไม่มีการหันหน้าตรง มีการแต่งตัวด้วยศิราภรณ์แบบพื้นเมืองแตกต่างไปจากแบบอินเดีย ที่ว่างโดยรอบถมด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษาและลายเมฆ อาคารเองก็เป็นอาคารเครื่องไม้มุงกรเบื้องตามอย่างอาคารแบบพื้นเมือง ความเป็นพื้นเมืองทั้งหมดนี้แสดงลักษณะเฉพาะของ “ศิลปะชวาภาคตะวันออก”

หน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่องมหาภารตะ
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่องมหาภารตะ

หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องมหาภารตะ

ภาพสลักเล่าเรื่องมหาภารตะ ฉาก ภีษมะถูกศรอรชุน
อังกอร์
ประติมากรรมภาพสลักเล่าเรื่องมหาภารตะ ฉาก ภีษมะถูกศรอรชุน

ภาพสลักที่ผนังระเบียงคดชั้นที่ 2 ที่ปราสาทนครวัด จะมีการสลักภาพนูนต่ำเล่าเรื่องต่างๆ ไล่เรียงกันไป ที่ผนังทุกด้าน โดยทางทิศตะวันตกสลักเป็นภาพเล่าเรื่องมหาภารตะลักษณะของเครื่องแต่งกายบุคคลที่ปรากฏในภาพสลัก ดูจากบุคคลขนาดใหญ่ที่อยู่กลางภาพ นอนอยู่บนเตียงลูกศร ทรงกระบังหน้ายอดทรงกรวย ทรงกรองศอประดับพู่ห้อย พาหุรัด สังวาลไขว้กันเป็นรูปกากบาท ทรงผ้านุ่งสั้น มีชายผ้าสามเหลี่ยมชักออกมาด้านข้าง ซึ่งจากลักษณะดังกล่าวเป็นรูปแบบที่นิยมในศิลปะนครวัด