ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ภาพสลักเล่าเรื่องมหาภารตะ ฉาก ภีษมะถูกศรอรชุน

คำสำคัญ : นครวัด, สูริยวรมันที่ 2, มหาภารตะ, ระเบียงคด, อรชุน

ชื่อหลักปราสาทนครวัด
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ที่อยู่-
จังหวัด/เมืองอังกอร์
รัฐ/แขวงเสียมเรียบ
ประเทศกัมพูชา
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.412222
Long : 103.866389

ประวัติการสร้างปราสาทนครวัดสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2 ในปี พ.ศ. 1656ภายหลังที่พระองค์ปราบดาภิเษก โดยเอาชนะพระปิตุลาคือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 และพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1 ที่ครองราชอยู่ที่เมืองมหิทรปุระโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อถวายแก่พระวิษณุ อีกทั้งยังโปรดให้เป็นสุสานของพระองค์ดังนั้นตัวปราสาทจึงหันหน้าไปทางทิศตะวันตก
ลักษณะทางศิลปกรรมภาพสลักที่ผนังระเบียงคดชั้นที่ 2 ที่ปราสาทนครวัด จะมีการสลักภาพนูนต่ำเล่าเรื่องต่างๆ ไล่เรียงกันไป ที่ผนังทุกด้าน โดยทางทิศตะวันตกสลักเป็นภาพเล่าเรื่องมหาภารตะลักษณะของเครื่องแต่งกายบุคคลที่ปรากฏในภาพสลัก ดูจากบุคคลขนาดใหญ่ที่อยู่กลางภาพ นอนอยู่บนเตียงลูกศร ทรงกระบังหน้ายอดทรงกรวย ทรงกรองศอประดับพู่ห้อย พาหุรัด สังวาลไขว้กันเป็นรูปกากบาท ทรงผ้านุ่งสั้น มีชายผ้าสามเหลี่ยมชักออกมาด้านข้าง ซึ่งจากลักษณะดังกล่าวเป็นรูปแบบที่นิยมในศิลปะนครวัด
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะนครวัด
อายุพุทธศตวรรษที่ 17
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องในภาพสลักเป็นของมหาภารตะ ตอน ภีษมะโดนศรของอรชุน ซึ่งภีษมะ เป็นพระโอรสของพระราชาศานตนุแห่งกรุงหัสตินาปุระ แคว้นกุรุ กับพระแม่คงคาเป็นบุคคลสำคัญในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ เพราะถือเป็นปู่คนหนึ่งของทั้งฝ่ายเการพและฝ่ายปาณฑพ ในสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรนั้น ท้าวภีษมะต้องเข้าร่วมกับพวกเการพ และเป็นแม่ทัพให้กับทุรโยธน์ท้าวภีษมะไม่เต็มใจนักเพราะแต่ละฝ่ายต่างก็เป็นหลานของตน จึงเข้าร่วมกับฝ่ายเการพและบอกว่าจะไม่สังหารพี่น้องปาณฑพอย่างเด็ดขาด แต่ในที่สุดแล้ว ภีษมะก็ตายด้วยน้ำมือของอรชุนซึ่งเป็นหลาน และนอนรอความตายอยู่บนเตียงลูกศร โดยสอนวิธีการปกครองให้กับพวกปาณฑพก่อนที่ตนเองจะตั้งใจตาย เมื่อสอนหลาน ๆ ฝ่ายปาณฑพจบ ภีษมะก็ได้ตายจากไปและขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ดังเดิม
งานศิลปะที่เกี่ยวข้องภาพสลักบุคคลขนาดใหญ่ที่อยู่กลางภาพ นอนอยู่บนเตียงลูกศร หมายถึงท้าวภีษมะส่วนบุคคลที่อยู่บนรถศึกกำลังแผลงศร น่าจะหมายถึง อรชุนที่แผลงศรใส่ภีษมะ

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-07-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี