ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 6 จาก 6 รายการ, 1 หน้า
หน้าบันสลักภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์ ตอน โมกขศักดิ์
อังกอร์
ประติมากรรมหน้าบันสลักภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์ ตอน โมกขศักดิ์

หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องรามเกียรติ์ ตอน โมกขศักดิ์

ทับหลังสลักภาพเล่าเรื่องนารายณ์บรรทมสินธุ์
อังกอร์
ประติมากรรมทับหลังสลักภาพเล่าเรื่องนารายณ์บรรทมสินธุ์

ทับหลังในศิลปะนครวัด สืบรูปแบบมาจากศิลปะแบบบาปวน คือ ท่อนพวงมาลัยบริเวณกลางทับหลังจะอ่อนโค้งมาด้านล่าง รวมถึงมีการแบ่งเสี้ยวที่ท่อนพวงมาลัย แต่ที่แตกต่างออกไปคือการแทรกภาพเล่าเรื่องลงไปในทับหลัง

ภาพสลักเล่าเรื่องมหาภารตะ ฉาก ภีษมะถูกศรอรชุน
อังกอร์
ประติมากรรมภาพสลักเล่าเรื่องมหาภารตะ ฉาก ภีษมะถูกศรอรชุน

ภาพสลักที่ผนังระเบียงคดชั้นที่ 2 ที่ปราสาทนครวัด จะมีการสลักภาพนูนต่ำเล่าเรื่องต่างๆ ไล่เรียงกันไป ที่ผนังทุกด้าน โดยทางทิศตะวันตกสลักเป็นภาพเล่าเรื่องมหาภารตะลักษณะของเครื่องแต่งกายบุคคลที่ปรากฏในภาพสลัก ดูจากบุคคลขนาดใหญ่ที่อยู่กลางภาพ นอนอยู่บนเตียงลูกศร ทรงกระบังหน้ายอดทรงกรวย ทรงกรองศอประดับพู่ห้อย พาหุรัด สังวาลไขว้กันเป็นรูปกากบาท ทรงผ้านุ่งสั้น มีชายผ้าสามเหลี่ยมชักออกมาด้านข้าง ซึ่งจากลักษณะดังกล่าวเป็นรูปแบบที่นิยมในศิลปะนครวัด

ภาพสลักพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2
กัมปง ธม
ประติมากรรมภาพสลักพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2

ภาพสลักที่ผนังระเบียงคดชั้นที่ 2 ที่ปราสาทนครวัด จะมีการสลักภาพนูนต่ำเล่าเรื่องต่างๆ ไล่เรียงกันไป ที่ผนังทุกด้าน โดยทางทิศใต้สลักเป็นภาพเล่าเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2ลักษณะของเครื่องแต่งกายบุคคลที่ปรากฏในภาพสลัก ดูจากบุคคลขนาดใหญ่ที่อยู่กลางภาพ นั่งอยู่บนบัลลังก์ยกสูงในท่านั่งมหาราชลี ด้านหลังมีฉัตร และเครื่องสูงเต็มฉากหลัง ทรงกระบังหน้ายอดทรงกรวย ทรงกรองศอประดับพู่ห้อย พาหุรัด สังวาลไขว้กันเป็นรูปกากบาท ทรงผ้านุ่งสั้น มีชายผ้าสามเหลี่ยมชักออกมาด้านข้าง ซึ่งจากลักษณะดังกล่าวเป็นรูปแบบที่นิยมในศิลปะนครวัด

ปราสาทนครวัด
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทนครวัด

ปราสาทล้อมรอบไปด้วยคูน้ำซึงกว้างด้านละ 1 กิโลเมตร ด้านหน้าปรากฏทางเดินยาวนำเข้าสู่ปราสาทซึ่งตั้งอยู่บนฐานสามชั้น แต่ละชั้นมีระเบียงคดล้อมรอบ มีโคปุระที่ด้านทุกด้านและมีปราสาทที่มุมทุกมุม ด้านบนสุดประดิษฐานปราสาทประธานจำนวนห้าหลัง ปราสาทนครวัดถือเป็นปราสาทที่นำความสำเร็จของปราสาทตาแก้วมาผสมกับความสำเร็จของปราสาทบาปวน ด้วนเหตุนี้ ปราสาทแห่งนี้จึงมีปราสาทประธานห้าหลังอยู่บนยอดเช่นเดียวกับปราสาทตาแก้ว และสามารถนำระเบียงคดขึ้นไปไว้ด้านบนฐานเป็นชั้นแต่ละชั้นได้

ปราสาทประธาน: ปราสาทนครวัด
อังกอร์
ประติมากรรมปราสาทประธาน: ปราสาทนครวัด

ปราสาทประธานของปราสาทนครวัด มีลักษณะตามแบบพุทธศตวรรษที่ 17 กล่าวคือ สร้างด้วยหินทั้งหลังมีประตูทางออกสี่ทิศและมีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ทิศ ซึ่งในที่นี่ต่อเชื่อกับระเบียงรูปกากบาท เรือนธาตุอยู่ในผังเพิ่มมุม ด้านบนเป็นยอดวิมานที่ประดับไปด้วยกลีบขนุนทำให้ปราสาทมียอดเป็นทรงพุ่ม อนึ่ง ปราสาทซึ่งใช้กลีบขนุนประดับยอดนี้ปรากฏในปราสาทอื่นๆในระยะร่วมสมัยด้วย เช่น ปราสาทบันทายสำเหร่และปราสาทพิมาย