ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทับหลังสลักภาพเล่าเรื่องนารายณ์บรรทมสินธุ์
คำสำคัญ : พระวิษณุ, ทับหลัง, นครวัด, ฮินดู, สูริยวรมันที่ 2
ชื่อหลัก | ปราสาทนครวัด |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
จังหวัด/เมือง | อังกอร์ |
รัฐ/แขวง | เสียมเรียบ |
ประเทศ | กัมพูชา |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.412222 Long : 103.866389 |
ประวัติการสร้าง | ปราสาทนครวัดสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2 ในปี พ.ศ. 1656ภายหลังที่พระองค์ปราบดาภิเษก โดยเอาชนะพระปิตุลาคือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 และพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1 ที่ครองราชอยู่ที่เมืองมหิทรปุระ โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อถวายแก่พระวิษณุ อีกทั้งยังโปรดให้เป็นสุสานของพระองค์ดังนั้นตัวปราสาทจึงหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ทับหลังในศิลปะนครวัด สืบรูปแบบมาจากศิลปะแบบบาปวน คือ ท่อนพวงมาลัยบริเวณ |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | ทับหลังในศิลปะนครวัด สืบรูปแบบมาจากศิลปะแบบบาปวน คือ ท่อนพวงมาลัยบริเวณกลางทับหลังจะอ่อนโค้งมาด้านล่าง รวมถึงมีการแบ่งเสี้ยวที่ท่อนพวงมาลัย แต่ที่แตกต่างออกไปคือการแทรกภาพเล่าเรื่องลงไปในทับหลัง |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | นครวัด |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 17 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | นารายณ์บรรทมสินธุ์ หรือ วิษณุอนันตศายินปัทมนาภะ คือ ตอนที่พระวิษณุการบรรทมในช่วงการสร้างโลก การบรรทมแต่ละครั้งนั้น จะเกี่ยวกับยุคเวลาในแต่ละกัลป์ ในคัมภีร์วราหปุราณะ กล่าวถึงพระวิษณุ กำลังบรรทมอยู่นั้น ได้ทรงสุบิน เกิดปัทมขึ้นจากพระนาภี บนปัทมได้บังเกิดพระพรหม และพระพรหมทรงเป็นผู้สร้างมนุษย์ และสิ่งต่าง ๆ |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | ประติมากรรมบุคคลที่อยู่ในท่าบรรทมอยู่บนตัวนาคราช หมายถึงพระวิษณุ ส่วนบุคคลที่ประทับบนดอกบัวที่ผุดออกจากพระนาภีของพระวิษณุ หมายถึงพระพรหม |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-07-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |