ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภาพเล่าเรื่อง “ปาณฑพเล่นสกากับเการพ”
คำสำคัญ : มหาภารตะ, ปาณฑพ, เการพ
ชื่อหลัก | จันทิจาโก |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ที่อยู่ | - |
จังหวัด/เมือง | ตุมปัง |
รัฐ/แขวง | ชวา ตะวันออก |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : -8.005278 Long : 112.7575 |
ประวัติการสร้าง | - |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | ภาพเล่าเรื่องในศิลปะชวาภาคตะวันออก ประติมากรรมบุคคลค่อนข้างแบนคล้ายคลึงหนังตะลุงชวา หันข้างเพียงอย่างเดียว ไม่มีการหันหน้าตรง มีการแต่งตัวด้วยศิราภรณ์แบบพื้นเมืองแตกต่างไปจากแบบอินเดีย ที่ว่างโดยรอบถมด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษาและลายเมฆ อาคารเองก็เป็นอาคารเครื่องไม้มุงกรเบื้องตามอย่างอาคารแบบพื้นเมือง ความเป็นพื้นเมืองทั้งหมดนี้แสดงลักษณะเฉพาะของ “ศิลปะชวาภาคตะวันออก” |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ชวาภาคตะวันออก |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 16-20 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | ตอนสำคัญที่สุดตอนหนึ่งของเรื่องมหาภารตะ ก็คือ ตอนเล่นสกาเพื่อพนันบ้านเมือง โดยกลุ่มปาณฑพซึ่งเป็นฝ่ายคุณธรรมถูกท้าทายจากกลุ่มเการพซึ่งเป็นฝ่ายอธรรมในการเล่นสกา ต่อมา ปาณฑพได้เสียเมืองอินทรปรัสถ์และต้องออกไปเดินป่า 14 ปี |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | ภาพสลักนี้ แสดงเป็นบุคคลกลุ่มหนึ่งที่กำลังเล่นสกาอยู่ภายในอาคารเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านนอกเป็นภาพพี่น้องปาณฑพคนอื่นๆกำลังยืนรอ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-07-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |