ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

แม่มดรังดา

คำสำคัญ : ปุระดาเล็ม

ชื่อหลักปุระดาเล็ม
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ที่อยู่ป่าลิง
รัฐ/แขวงบาหลี
ประเทศอินโดนีเซีย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : -8.518611
Long : 115.258611

ประวัติการสร้างปุระดาเล็ม (Pura Dalem) คือวัดที่สร้างขึ้นอุทิศให้กับคนตาย เป็นหนึ่งในสามปุระของหมู่บ้าน โดยปุระอื่นๆได้แก่ ปุระเทศะ(Pura Desa) หรือวัดประจำหมู่บ้าน และ “ปุระปูเซห์” (Pura Puseh) หรือวัดที่อุทิศให้กับบรรพบุรุษผู้ดูแลหมู่บ้านปุระดาเล็มมักตั้งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน เป็นทิศที่ไปทางทะเลอันเป็นอัปมงคล แตกต่างไปจากปุระเทศะซึ่งมักตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน และปุระปูเซห์ อันตั้งอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านซึ่งเป็นทิศมงคลนอกจากนี้ ปุระดาเล็มมักตั้งอยู่ภายในป่าชุมชน อันเป็นป่าที่อุทิศให้กับคนตาย ป่านี้เป็นที่อยู่ของลิงซึ่งมักเรียกกันในสมัยปัจจุบันว่า ป่าลิง (Monkey Forest) ตัวอย่างที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ปุระดาเล็มแห่งเมืองอุบุด (Ubud)
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะบาหลี
อายุพุทธศตวรรษที่ 22-25
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องด้านหน้าของปุระดาเล็มและปุระอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการศพนั้น มักประดับด้วยประติมากรมรูปนางปีศาจรังดา(Rangda) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความชั่วร้าย นางมักมผมยาว มีเขี้ยวโง้งและตาถลน มีหน้าอกห้อยยานอย่างน่าเกลียด บางครั้งนางก็กำลังกินเด็กอยู่ นางคือตัวแทนความชั่วร้ายและมักประดับอยู่กับปุระดาเล็มที่เกี่ยวข้องกับความตายเสมอๆ

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-07-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี