ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หน้ากาลแบบชวาภาคตะวันออก
คำสำคัญ : จันทิ, จันทิจาโก, กาล
ชื่อหลัก | จันทิจาโก |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ที่อยู่ | - |
จังหวัด/เมือง | ตุมปัง |
รัฐ/แขวง | ชวา ตะวันออก |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : -8.005278 Long : 112.7575 |
ประวัติการสร้าง | - |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | หน้ากาลในศิลปะชวาภาคตะวันออกมีความดุร้ายกว่าหน้ากาลชวาภาคกลางมาก มีตาถลนโปน ปากมีเขี้ยวทั้งปากบนและปากล่าง มีเขาและมีกะโหลก รวมถึงมีมือทั้งสองที่ยกขึ้นแสดงท่าขู่ “ดรรชนีมุทรา” อนึ่ง การที่หน้ากาลมีทั้งริมฝีปากบนและริมฝีปากล่างนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า คติแบบอินเดียที่หน้ากาลไม่มีปากล่างได้สูญหายไปแล้ว |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ชวาภาคตะวันออก |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 16-20 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | หน้ากาลที่มีหน้าตาดุร้ายและมีท่าทางข่มขู่นั้น ก็เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้ามาภายในศาสนสถาน |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-07-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |