ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมเจดีย์ทรงระฆัง วัดกิตติ
เจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ทรงระฆังในผังกลม มีฐานเขียงรองรับฐานบัวคว่ำบัวหงายคาดลูกแก้วอกไก่ 1 เส้น 2 ฐานยืดท้องไม้สูงในผังยกเก็จ ต่อด้วยฐานหน้ากระดานกลมรองรับชุดฐานบัวคว่ำบัวหงายคาดลูกแก้วอกไก่ 2 เส้น 3 ฐาน ต่อด้วยบัวปากระฆัง องค์ระฆังในผังกลมมีรัดอก ต่อด้วยบัลลังก์ในผังเพิ่มมุม ก้านฉัตร ปล้องไฉน
สถาปัตยกรรมเจดีย์เชียงยัน
เจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอด ฐานล่างสุดเป็นฐานเขียง 3 ฐานรองรับฐานบัวคว่ำบัวหงายยืดท้องไม้สูงคาดลูกแก้วอกไก่ 3 เส้น รองรับด้วยเรือนธาตุที่มีซุ้มจระนำทั้ง 4 ด้านมีการประดับลายปูนปั้นที่ซุ้ม เหนือขึ้นไปเป็นเจดีย์จำลองหรือ สถูปิกะที่มุมทั้ง 4 ที่กึ่งกลางเป็นเจดีย์ทรงระฆังในผังกลมมีการประดับรัดอกต่อด้วยบัวคลุ่มสลับกับลูกแก้ว ยอดสุดหักหายไป
ประติมากรรมพระอรรธนารีศวร
พระอรรถนารีศวรอยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิแบบไขว้พระชงฆ์ หรือแบบโยคาสนะ มีแท่นฐานสี่เหลี่ยมที่ตกแต่งด้วยกลีบบัวรองรับ พระกรทั้งสองข้างหักหายจึงไม่ทราบว่าทำท่าทางใด ด้านขวาของประติมากรรมเป็นพระศิวะสังเกตได้จากพระอุระที่เรียบ ด้านซ้ายของประติมากรรมเป็นพระอุมาโดยสังเกตได้จากพระถันที่นูนเด่นชัด นอกจากนี้ความแตกต่างระหว่างด้านทั้งสองยังเห็นได้จากผ้านุ่ง โดยด้านของพระศิวะเป็นผ้านุ่งสั้นระดับพระชานุ ในขณะที่ผ้านุ่งของพระอุมายาวถึงกึ่งกลางพระชงฆ์
ประติมากรรมพระหริภุญชัยโพธิสัตว์
พระพุทธรูปองค์นี้แสดงปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานหน้าบัวคว่ำบัวหงายในผังแปดเหลี่ยมที่มีกลีบบัวขนาดใหญ่ พระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก สวมเทริดขนนกที่มี 5 ตาบเรียงด้านหน้าทั้งหมด ลวดลายภายในตาบเป็นลายดอกโบตั๋นแบบล้านนา มีผ้ากรรเจียกรูปพัดและกุณฑลที่พระกรรณ ปรากฏแถวเม็ดพระศก 1 แถวใต้กระบังหน้าของเทริดชนนก พระเนตรเหลือบต่ำ พระโอษฐ์แย้ม พระหนุเป็นปม พระรัศมีเป็นเปลวสูง พระวรกายผอมบางสมส่วน จีวรสวมทับสร้อยพระศอ สวมพาหุรัด ทองพระกร พระธำมรงค์ ชายสังฆาฏิแผ่นใหญ่ยาวถึงพระนาภีปลายแตกเป็นเขี้ยวตะขาบ ชายผ้าด้านหน้าแตกเป็น 2 ชาย
ประติมากรรมพระพุทธรูปปางมารวิชัย
พระพุทธรูปองค์นี้แสดงปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานหน้ากระดานเกลี้ยง พระพักตร์กลม ขมวดพระเกศาใหญ่ พระเนตรเหลือบต่ำ พระโอษฐ์แย้ม พระหนุเป็นปม พระวรกายอวบอ้วน ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน
สถาปัตยกรรมค่ายเนินวง
ค่ายเนินวงเป็นเมืองป้อมค่ายก่อสร้างด้วยดิน โดยขุดคูขึ้นเป็นเทินรอบเนินดินขนาดใหญ่และก่อกำแพงศิลาแลงมีใบเสมาและช่องปืนบนเชิงโดยรอบ ประตูเมืองเป็นช่องอิฐก่อเป็นคันกันดิน ป้อมประตูเมืองเดิมเป็นอาคารไม้ มุงกระเบื้องอยู่เหนือประตู ยังเหลือตัวอย่างพอสังเกตเค้าได้จากประตูค่ายเนินวง ที่เรียกว่าประตูต้นไทร ด้านทิศเหนือ ตัวป้อมหน้าค่ายเนินวงในปัจจุบัน เป็นป้อมคอนกรีตเสริมเหล็กทรง 8 เหลี่ยมที่บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่
ประติมากรรมพระมหาพิชัยราชรถ
ราชรถช่วงล่างประกอบด้วยวงล้อ 4 ล้อ ส่วนหน้ารถเรียกว่าเกริน สลักลวดลายกระหนกออกปลายรูปหัวนาค ส่วนท้ายรถเรียกว่า ท้ายเกริน สลักลวดลายกระหนกออกปลายรูปหางนาค ส่วนกลางราชรถลดหลั่นเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นประดับประติมากรรมรูปเทพนม เหนือฐานราชรถช่วงกลางประดิษฐานบุษบกเรือนยอด เสาย่อมมุมไม้สิบสองประดับพระวิสูตรผู้ไว้ทั้ง 4 ด้าน ฐานบุษบกสลักลายประจำยามก้ามปู กระจังตาอ้อย และเทพนม หลังคาบุษบกเป็นเรือนซ้อนชั้นและมียอดแหลม องค์ประกอบทั้งหมดปิดทองประดับกระจกสี
ประติมากรรมพระพุทธรูป
แผ่นเงินดุนนูนพระพุทธรูปกลุ่มนี้ล้วนอยู่ไหนสภาพชำรุดมากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป บ้างเหลือแต่พระเศียร บ้างเหลือแต่พระวรกาย มีทั้งพระพุทธรูปยืนและพระพุทธรูปนั่ง รูปแบบโดยรวมแสดงให้เห็นถึงความเป็นศิลปะหริภุญชัย ขณะเดียวกันก็แสดงความเกี่ยวข้องกับศิลปะพม่าสมัยพุกามด้วย เช่น การทำพระพุทธรูปสวมมงกุฏทรงเทริดขนนก การนั่งขัดสมาธิเพชร