ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ค่ายเนินวง

คำสำคัญ : ค่ายเนินวง, รัชกาลที่ 3, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี , จันทบุรี, เมืองเนินวง

ชื่อหลักค่ายเนินวง จ.จันทบุรี
ชื่ออื่นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี จ.จันทบุรี
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลบางกะจะ
อำเภอเมือง
จังหวัดจันทบุรี
ภาคภาคตะวันออก
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 12.585206
Long : 102.067652
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 48 P
Hemisphere : N
E : 181365.6
N : 1393043.75
ตำแหน่งงานศิลปะเมืองเนินวง

ประวัติการสร้าง

สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2377 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่อป้องกันเมืองจันทบุรีจากสงครามระหว่างสยามกับญวน

ลักษณะทางศิลปกรรม

ค่ายเนินวงเป็นเมืองป้อมค่ายก่อสร้างด้วยดิน โดยขุดคูขึ้นเป็นเทินรอบเนินดินขนาดใหญ่และก่อกำแพงศิลาแลงมีใบเสมาและช่องปืนบนเชิงโดยรอบ ประตูเมืองเป็นช่องอิฐก่อเป็นคันกันดิน ป้อมประตูเมืองเดิมเป็นอาคารไม้ มุงกระเบื้องอยู่เหนือประตู ยังเหลือตัวอย่างพอสังเกตเค้าได้จากประตูค่ายเนินวง ที่เรียกว่าประตูต้นไทร ด้านทิศเหนือ ตัวป้อมหน้าค่ายเนินวงในปัจจุบัน เป็นป้อมคอนกรีตเสริมเหล็กทรง 8 เหลี่ยมที่บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดศึกสงครามกับญวนสาเหตุจากเรื่องกบฏเจ้าอนุวงศ์ เมืองจันทบุรีเป็นหัวเมืองตะวันออกที่อยู่ใกล้ชิดกับเขตญวน จึงเป็นที่น่าหวั่นเกรงว่าญวนจะเข้าโจมตีได้ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เป็นแม่กองในการสร้างป้อมค่ายเมืองใหม่บนชัยภูมิที่ดี เป็นที่สูงมองเห็นได้ไกลถึงปากแม่น้ำจันทบุรีและอ่าวใกล้เคียง ภายในเมืองสร้างศาลหลักเมือง คลังกระสุนและดินดำ พร้อมกันนั้นให้สร้างวัดโยธานิมิตขึ้นไว้เป็นวัดประจำเมือง เมื่อสร้างเสร็จให้ย้ายราษฎร ไปอยู่ที่เมืองใหม่บนค่ายเนินวงนี้ แต่เนื่องจากไกลจากแหล่งน้ำใช้ ราษฎรจึงสมัครใจอยู่ที่เก่าเป็นส่วนมาก คงมีอยู่แต่หมู่ข้าราชการเท่านั้น เมื่อถึงรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองมาอยู่ที่บ้านลุ่มที่เก่าดังเดิม

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 24-25
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องการเมือง

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-08-15
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
บรรณานุกรม

สมเจตน์ สุขเจริญ. “การอนุรักษ์และพัฒนาอนุสรณ์สถานเพื่อการศึกษาและเป็นแหล่งท่องเที่ยว : กรณีศึกษาค่ายเนินวง ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี”(สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี) มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2543.)